ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 40' 35.8651"
6.6766292
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 39' 51.6139"
100.6643372
เลขที่ : 195216
วิสาหกิจสวนสมุนไพรปลักหนู
เสนอโดย สงขลา วันที่ 5 มกราคม 2565
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 5 มกราคม 2565
จังหวัด : สงขลา
0 529
รายละเอียด

ลูกประคบสบายกายสูตรมาตรฐานโบราณ

นายสมพร แสนราชคำ ได้รับการสืบทอดภูมิปัญญาการแพทย์ของบรรพบุรุษไทย ที่นำคุณค่าของสมุนไพรมาบรรจุรวมกันเป็นลูกประคบใช้ประคบเพื่อลดอาการกล้ามเนื้อเกร็ง ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อ ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น บรรเทาอาการเหน็บชาจิตใจ จะเบาสบาย

ส่วนประกอบ

  1. ไพล
  2. ขมิ้น
  3. ข่า
  4. ชุมเห็ดเทศ
  5. ตะไคร้หอม
  6. ว่านนางคำ
  7. พิมเสน
  8. การบูร
  9. ใบมะขาม
  10. ว่านน้ำ
  11. เดาเอ็นอ่อน
  12. เถาวัลย์เปรียง

อุปกรณ์ในการทำลูกประคบสมุนไพร

  1. เขียง 1 อัน และมีด 1 เล่ม
  2. ตัวยาสมุนไพรรวมที่ใช้ทำลูกประคบสมุนไพร
  3. ผ้าดิบสำหรับห่อทำลูกประคบสมุนไพร 2 ผืน และเชือก 2 เส้น ยาว 1 เมตร
  4. หม้อนึ่งลูกประคบสมุนไพร
  5. กะละมัง ถุงมือ ผ้าขนหนู
  6. จานรองลูกประคบสมุนไพร

วิธีการทำลูกประคบสมุนไพร

  1. เตรียมสมุนไพรให้พร้อมก่อนลงมือปรุงตามสูตรลูกประคบสมุนไพร หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ โขลกพอแหลกนำสมุนไพรชั่งน้ำหนักแต่ละชนิดตามสูตรมาตรฐานที่กำหนดไว้
  2. นำส่วนผสมทั้งหมดของลูกประคบสมุนไพรมาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วให้นำมาทดสอบน้ำหนักรวมกันอีกครั้งหนึ่ง
  3. นำส่วนผสมสมุนไพรลูกประคบมาใส่ในผ้า ห่อเป็นลูกประคบสมุนไพร รัดด้วยเชือกให้แน่น พร้อมใช

วิธีการห่อลูกประคบสมุนไพร

  1. นำส่วนผสมสมุนไพรของลูกประคบมาวางตรงกลางผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้า 2 มุม ขึ้นมาทบกัน โดยจับทีละมุมจนครบทั้ง 4 มุม จากนั้นจะเกิดมุมผ้าขึ้นมาอีก 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุมอีกครั้งหนึ่งจนครบทั้ง 4 มุม
  2. แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียว จากนั้นค่อย ๆ จัดแต่งลูกประคบสมุนไพรให้เป็นรูปทรงกลม ที่สวยงาม
  3. เมื่อได้ลูกประคบสมุนไพรที่เป็นรูปทรงกลมที่สวยงามแล้ว ให้นำเชือกมาพับครึ่ง ร้อยเป็นห่วงให้ชายทั้งสองเท่ากัน
  4. จากนั้นพันทบกัน 2 รอบแล้วผูกให้แน่นด้วยเงื่อนตาย 1 รอบ ก็จะทำให้เหลือปลายผ้าที่เท่ากันทั้งสองข้าง ค่อย ๆ จัดระเบียบชายผ้าในส่วนที่จะทำเป็นด้ามจับลูกประคบสมุนไพร
  5. การทำด้ามจับลูกประคบสมุนไพร โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บชายผ้าทั้งสองด้าน
  6. หลังจากที่เราจัดแต่งและซ่อนชายผ้าของลูกประคบสมุนไพรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้พับลงมาประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เพื่อทำด้ามจับ ใช้ปลายของเชือกเส้นเดิมมาพันทบกันอีก 2 รอบ โดยการผูกเชือกแบบเงื่อนตายให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง
  7. ให้ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ เพื่อให้ลูกประคบสมุนไพรมีความแข็งแรงและสวยงามคงทนต่อการใช้งาน
  8. นำเชือกป่านมาผูกให้แน่นอีกครั้งหนึ่งโดยผูกแบบเงื่อนตาย ปลายด้านหนึ่งยาวประมาณ 2 นิ้วครึ่ง เสร็จแล้วให้ยกขึ้นมาแนบกับด้ามจับลูกประคบสมุนไพร ใช้ปลายเชือกส่วนที่ยาวกว่าพันขึ้นมา โดยใช้ปลายนิ้วไล่กดเชือกให้แน่น การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ
  9. เมื่อพันจนสุดชายเชือกแล้วให้ผูกเงื่อนตายไว้กับปลายเชือกเส้นที่แนบไว้กับด้ามจับในตอนแรก จากนั้นซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าที่เป็นด้ามจับ เพียงเท่านี้ก็จะได้ลูกประคบสมุนไพรที่สวยงามพร้อมสำหรับการใช้งาน

วิธีใช้

พรมน้ำให้ลูกประคบเปียกหมาดๆ นำไปนึ่งไอน้ำจนมีน้ำมันสีเหลืองออกมา แล้วนำไปประคบตามต้องการ

การเก็บรักษา

หลังจากนำไปนึ่งแล้วปกติจะใช้ได้ 3 - 5 วัน เวลาเก็บควรพึ่งตัวยาไว้อย่าให้อับหากเก็บไว้ในตู้เย็นจะใช้ได้นานขึ้นเมื่อยาบูดควรทิ้ง

สถานที่ตั้ง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนสมุนไพรบ้านปลักหนู
เลขที่ 30 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล ปลักหนู อำเภอ นาทวี จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นาง สมพร แสนราชดำ
บุคคลอ้างอิง อินทิรา แก้วขาว อีเมล์ intira_ka@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
เลขที่ 10/1 ถนน สุขุม
ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
โทรศัพท์ 074327147 โทรสาร 074326823
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่