อำเภอร่องคำ ดินแดนที่คึกคักด้วย“เสียงกลอง”
ประวัติความเป็นมา
อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมชื่อบ้านกุดลิง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ห่างจากบ้านจังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ ๓๘ กิโลเมตร หมู่บ้านนี้เดิมอยู่ริมห้วยทราย ซึ่งมีกุดอยู่กุดหนึ่ง กุดนี้คล้ายหนองน้ำ ตามท้องนาชาวบ้านเรียกว่ากุดลิง เพราะมีลิงอาศัยอยู่ในกุดนี้มาก จึงขนานนามว่า บ้านกุดลิง ต่อมาเมื่อชาวบ้านกุดลิงมีพลเมืองหนาแน่นมากขึ้นจึงได้ขยายหมู่บ้านออกไปทางทิศเหนืออีกหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งอยู่ติดกับร่องน้ำไหลซึม และน้ำมีสีเหลือง ชาวบ้านเรียกว่าร่องคำ ต่อมาราษฏร์อพยพมาตั้งบ้านเรือนมากขึ้น การติดต่อราชการกับอำเภอกมลาไสยมีความยากลำบาก เพราะท้องถิ่นอยู่ห่างไกลตัวอำเภอการคมนาคมไม่สะดวกเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอร่องคำขึ้น เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ และเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอำเภอร่องคำ
พื้นที่และอาณาเขต
อำเภอร่องคำมีพื้นที่ทั้งหมด ๘๒ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเขา สภาพภูมิอากาศมีฝนตกชุก ระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน มีแหล่งน้ำสำคัญคือ ลำน้ำปาว ไหลผ่านซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอกมลาไสยและอำเภอร่องคำ มีลำห้วยสองแห่งคือ ลำห้วยอัคคะ และลำห้วยกุดขี้นาก
อาณาเขต
อำเภอร่องคำ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ จดอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศใต้ จดกิ่งอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันออก จดอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก จดอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
เส้นทางการเดินทาง : จากจังหวัดกาฬสินธุ์ เดินทางตามถนนหมายเลข ๒๒๗ มุ่งหน้าไปทางอำเภอ กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตร ถึงสี่แยกบ้านบ่อ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนหมายเลข ๒๑๑๖ ระยะทาง ๑๓ กิโลเมตร เลี้ยวขวาทางเข้าหมู่บ้านบ้านสองห้อง ระยะทาง ๒ กิโลเมตร กลุ่มทอผ้าปักด้วยมือ บ้านเลขที่ ๑๒๑ หมู่ที่ ๑๐ บ้านด่านใต้ ตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์อยู่ทางขวามือ
ผลิตภัณฑ์ชุมชน สินค้าและบริการทางวัฒนธรรม
กลุ่มทอผ้าปักมือบ้านด่านใต้ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยการ รวมตัวกันของกลุ่มสตรีในชุมชนที่มีความสามารถในด้านการทอผ้า การตัดเย็บ และการปักลาย ผสมผสานรวมกันเป็นกลุ่มภายใต้ชื่อ ผลิตภัณฑ์ “ฝ้ายสองวารี” ที่มาจากพื้นที่ตั้งของหมู่บ้านซึ่งมีแม่น้ำ สองสายไหลมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำปาว และแม่น้ำชี
ลักษณโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ เสื้อปักมือจากกลุ่มทอผ้าปักมือบ้านด่านใต้ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์คือ
๒.๑) ลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายกลองเส็ง อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ของ กลองเส็ง ซึ่งมีประเพณีการเส็งกลองกิ่งหรือการเส็งกลองที่โดดเด่น ในสมัยก่อนหรือสมัยโบราณยังใช้กลองสิ่งที่ บอกสัญญาณจากในวัดถึงชุมชนใช้เป็นสัญลักษณ์ในการออกรบและเป็นการละเล่นในบุญเดือนสามและบุญ เดือนหกโดยสืบทอดต่อกันมานานกว่า ๑๖๐ ปีดังนั้น จึงได้มีการจัดงานประเพณีมหกรรมเส็งกลองร่องคำ เป็นประจำทุกปี การแข่งขันประชันกลองพื้นบ้านอีสานเป็นการร่วมกันอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี สร้างความตระหนักในคุณค่ากลองเส็งให้อยู่คู่ลูกหลานส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยววิถีถิ่นอีสาน ภายในงาน จะแต่งกายโดยเสื้อสีดอกมันปลาปักลายกลองเส็ง ผู้ชายนุ่งโสร่ง และผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่น
๒.๒) สีของผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ คือ สีดอกมันปลา หรือดอกกันเกรา มีลักษณะออกดอกเป็นช่อตาม ซอกใบเมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลืองอมแสด ซึ่งเป็นสีประจำอำเภอร่องคำ จังหวัด กาฬสินธุ์
๒.๓) ขั้นตอนการผลิต กลุ่มได้ดำเนินการเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทอผ้า การตัดเย็บ และการปักลาย สามารถควบคุมการผลิตได้อย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน จึงทำให้เสื้อปักมือของกลุ่มทอผ้าปักมือบ้านด่านใต้ มีคุณภาพ สวยงาม ตรงตามต้องการของผู้บริโภค
งานเทศกาล ประเพณีที่โดดเด่น
มหกรรมเส็งกลองร่องคำ
เส็งเป็นภาษาอีสาน (ภาษาลาว) ที่มีความหมายว่า การแข่งขัน การประชันกัน การเส็งกลองก็คือการแข่งขันประชันการตีกลองพื้นบ้านที่มีมาตั้งแต่โบราณของชาวอีสานและประเทศเพื่อนบ้าน นิยมแข่งขันกันในงานบุญประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ บุญออกพรรษา และงานรื่นเริงอื่นๆ
อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ถือเป็นพื้นที่ของกลองเส็ง ซึ่งมีเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ที่โดดเด่นแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้ เพราะงานมหกรรมเส็งกลองร่องคำ แข่งขันประชันกลองพื้นบ้านอีสานสู่มหกรรมกลองอาเซียน นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีและมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นแล้วยังเป็นการสร้างความแข็งแรง ความรัก ความสามัคคีให้กับคนในชุมชน เนื่องจากกลองเส็งนอกจากจะเป็นการละเล่นแข่งขันด้านพละกำลัง ความอดทน มีน้ำใจเป็นนักกีฬา นอกจากนี้ในงานยังมีการนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ของดีต่างๆมาประชันกัน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่นอีกด้วย ทั้งนี้ในสมัยก่อนกลองเส็งยังใช้ตีบอกสัญญาณจากในวัดถึงชุมชน ใช้เป็นสัญญาณออกรบ และเป็นการละเล่นบุญเดือน ๓ และบุญเดือน ๖ โดยสืบทอดต่อกันมานานกว่า ๑๖๐ ปี ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ เห็นคุณค่าของกลองเส็ง ทุกภาคส่วนจึงร่วมกันจัดงานดังกล่าวขึ้น เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีสร้างความตระหนักในคุณค่ากลองเส็งให้อยู่คู่ลูกคู่หลานต่อไป
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์
๑.วัดสว่างใต้
ที่ตั้งวัดสว่างใต้ ๑๘๘ หมู่ที่ ๗ ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์รหัสไปรษณีย์ ๔๖๒๑๐
โทรศัพท์๐๔๓-๘๙๗๐๙๓,๐๘๑-๕๔๖๘๘๕๘
ประเภทศาสนาศาสนาพุทธ
ประวัติศาสนสถาน
วัดสว่างใต้สร้างขึ้นปี พ.ศ. ๒๔๓๘ โดยผู้ใหญ่ขุนไชยสิทธิ์และชาวบ้านร่วมกันสร้าง และได้รับ
พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ มีบริเวณเนื้อที่ทั้งสิ้น ๘ ไร่ ๒ งาน
เป็นวัดที่มีทลฑปที่สวยงาม และเป็นแหล่งอารยะธรรมของตำบลร่องคำ
๒. วัดอุมังคละนาเรียง
สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอร่องคำและใกล้เคียง สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของหลวงปู่วิสาขา หรือพระยาคูหลักคำเจ้าอาวาสองค์แรก อพยพหนีภัยสงครามมาจกเมืองเวียงจันทร์ ซึ่งครองวัดนี้อยู่ประมาณ ๔๔ ปี และต่อมาเมื่อปี ๒๕๓๘ พระครูสุพจน์วรคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันพร้อมกับชาวบ้านได้สร้างเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันกับพระธาตุพนม จังหสัดนครพนมครอบอุปมงไว้ ส่วนพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่นับกว่าร้อยปี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ นิ้ว สูง ๕ นิ้ว องค์พระเป็นสีเขียวมรกต มีฐาน ๓ ชั้น ทำด้วยโลหะเงินเหมือนพระสมเด็จ เศียรทำด้วยทอง เป็นพระพุทธรูปที่หลวงปู่วิสาขา เจ้าอาวาสองค์แรกนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดจนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านได้ถือปฏิบัติกันมาคือ กำหนดเอาวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันนมัสการองค์พระแก้วและพระธาตุเจดีย์หลวงปู่ (อุปมง) ส่วน สิม สิมโบราณสร้างประมาณปีพ.ศ. ๒๓๑๐ สร้างด้วยอิฐถือปูน เสาไม้ หลังคาสังกะสีหน้าจั่วทำด้วยไม้ฉลุลายสวยงาม หน้าต่างไม้ ประตูทำด้วยไม้ ลงรักปิดทอง ภายในสิมมีพะพุทธรูปโบราณประดิษฐานอยู่
๓. วัดสว่างเหล่าอ้อย ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องค่า จ.กาฬสินธ์
ชาวบ้านเหล่าอ้อย เป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งใด้อพยพมาจาก แถบลุ่มแม่น้ำโขง ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งรกรากอยู่บำนสองห้องเป็นครั้งแรก ชาวบ้านอยู่กันด้วยความสามัคคี สงบสุขมาโดยตลอด ต่อมาได้กิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง สัตว์เลี้ยง และผู้คนล้มป่วย และตายเป็นจำนวนมาก ไม่มียา ที่จะรักษาให้หายขาดใด้ สมัยนั้นเรียกว่า "โรคห่า" ด้วยความกลัว และความไม่รู้ ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกัน ปรึกษาหารือ และได้ตกลงที่จะอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ใหม่ เพื่อความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยงและชาวบ้านทุกคน การอพยพได้มีขึ้นในตอนกลางคืน โดยมีเกวียนเป็นพาหนะ โดยไม่มีการบอกลาหรือสั่งเยแต่อย่างใด เดินทางมุ่งไปในทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน จนมาถึงจุดบริเวณไร่อ้อยเก่าร้าง ผู้นำก็เห็นสมควรจะตั้งหมู่บ้าน จึงก่อสร้างที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราว คือทำเพิงหญ้า เป็นที่พักขึ้น ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๔ บุคคลสำคัญในการก่อตั้งหมู่บ้าน คือ พ่อใหญ่นุ พ่อใหญ่สอน และพ่อใหญ่มุตตะราช ซึ่งเห็นว่าบริเวณดังกล่าว เหมาะสมในการก่อตั้งหมู่บ้าน เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ สะดวก ปลอดภัยต่อชาวบ้านและสัตว์เลี้ยง โดยเมื่อจัดตั้งหมู่บ้านเสร็จแล้วได้แต่งตั้งให้ หลวงศรี หรือ นายจำปา มาตสุด เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาได้มีการต่อตั้งวัดประจำหมู่บ้าน เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านทุกคน โดยมีพระสิยา จากวัดบ้านสองห้อง ที่ได้อพยพมาด้วยในครั้งนี้เป็นสมภารวัด และมีการเปลี่ยนแปลง
เจ้าอาวาสและผู้ใหญ่บ้านเรือยมาปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ในสมัยนั้นผู้ใหญ่บ้นคือ นายดำมี เยาวกร มีพระหาประสงค์ ขันโก เป็น เจ้าอาวาสวัด พร้อมตัวยมีพระภิกษุสงฆ์และสามเณร หลายรูปที่ได้เข้ามาจำพรรษาในวัต จึงใด้มีการจัดตั้งสำนักเยนขึ้นมา ต่อมาเจ้าอาวาสได้เข้าไปกษาที่กรุงเทพมหานตร สำเร็จแล้วได้นำความรู้กลับมาพัฒนาหมู่บ้านและวัต พร้อมกันนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสมัยลพบุรี ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ปละทรงคำที่สุดในยุคนั้น มีหนำาตักประมาณ ๑๒๐ ช.ม. สูง ๑๔๐ ช.ม. มาประติษฐาน ณ.วัด เพื่อเป็นพระประธานและเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทุกคน
แหล่งที่มา :https://siamrath.co.th/n/63804
https://www.m-culture.go.th/mukdahan/ewt_news.php?nid=534&filename=index