ซ้าหวด(ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม)
ปราชญ์ชุมชน นายชุ่มใจ แปงตํา โทร. ๐๘๒-๖๔๙๔๑๓๔
ที่อยู่ ๓๙ หมู่ที่ ๑๕ ตําบลบ้านธิ อําเภอบ้านธิ จังหวัดลําพูน
รายละเอียด คำว่า “หวด”หรือ “ซ้า”มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือตอนบน คือ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําพูน ลําปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ตาก สานด้วยตอกไม้ไผ่ โดยทั่วไปใช้ไผ่เรี้ย หรือ ไผ่บง การใช้ตอกเรี้ยและตอกบงมีข้อดีข้อเสียต่างกัน หวดที่สานด้วยไผ่เรี้ยจะมีความเหนียว ยืดหยุ่นอ่อนตัวได้ดี เวลาบีบปากหวดจะอ่อนตัวตามไม่หัก ส่วนหวดที่สานด้วยไผ่บงมีความแข็งแรงกว่า ข้อเสียคือหักง่าย ส่วนใหญ่นิยมใช้หวดที่ทําด้วยไผ่บงมากกว่า ลักษณะของหวดส่วนที่เป็นก้นจะสานให้ตาห่างกันพอเมล็ดข้าวสารไม่หลุดลอดออกได้ มีมุม ๔ มุม ส่วนลําตัวของหวดจะเป็นทรงกลม ปากผายออกกว้างกว่าส่วนก้น ขนาดของหวดมีตั้งแต่ ๒๐ เซนติเมตรไปจนถึง ๔๐-๕๐ เซนติเมตร ชาวภาคเหนือของประเทศไทยประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านมาปรับใช้กับการดํารงชีวิตในลักษณะการทําอาหาร จึงมีการคิดค้นทําซ้าหวดมาหม่าข้าวก่อนจะนึ่งข้าวเหนียวของชาวบ้านทางภาคเหนือของประเทศไทย
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ภาคเหนือหรือล้านนาไทยเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในห้อมล้อมด้วยขุนเขา ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทําให้ภาคเหนือมีศิลปวัฒนธรรมเฉพาะตัวมาแต่โบราณ มีภาษาพูด ภาษาเขียน ขนบธรรมเนียมประเพณีที่โดดเด่นเป็นของตนเอง เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นเหล่านี้ จึงเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ทําให้เครื่องจักสาน ภาคเหนือมีเอกลักษณ์ของตนเอง ซ้าหวด จึงเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ล้างข้าวสารก่อนนึ่งข้าวของคนภาคเหนือ วัตถุดิบและส่วนประกอบมีดังนี้
๑. มีด/มีดเหลา
๒. ตอกไม้ไผ่
๓. ด้ายเย็บ
๔. พิมพ์ฐานเพื่อสานขึ้นรูปทรง เป็นต้น