ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 34' 38.0318"
18.57723105627982
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 0' 30.1904"
99.00838622446291
เลขที่ : 195046
เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 20 มกราคม 2565
จังหวัด : ลำพูน
0 542
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

ในช่วง ๘ ปีที่ผ่านมา จังหวัดลำพูนมีงานเทศกาลโคมแสนดวง ที่สร้างชื่อเสียงและเป็นที่สนใจของประชาชนในจังหวัดลำพูน และนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางมาถวายโคมล้านนาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่องค์พระธาตุหริภุญชัย ในประเพณียี่เป็งของทุกปี สืบเนื่องจากในสมัยโบราณ การถวายประทีปโคมไฟ ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จะถวายโดยเจ้าผู้ครองนครลำพูน และในสมัยต่อมามีการบันทึกไว้ว่าเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาเยี่ยมพระญาติเจ้านายเมืองลำพูน ได้ถวายผ้าไตรและประทีปพันดวงบูชาพระธาตุด้วยปฐมมูลเหตุนี้ ทางวัดจึงริเริ่มจัดกิจกรรมฟื้นฟูการถวายประทีปโคมไฟขึ้นตั้งแต่ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวโรกาสเฉลิมฉลองพุทธชยันตี และเพื่อส่งเสริมประเพณีอันดีงามและการท่องเที่ยวของจังหวัดลำพูน

การนำทุนทางวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดลำพูน

จากข้อมูลสถิติ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือลำปาง ลำพูน ได้ให้ข้อมูลว่า ในช่วงระยะเวลาการจัดกิจกรรมโคมแสนดวง เป็นระยะเวลาประมาณเกือบสองเดือน ในช่วงปลายเดือกันยายน ถึง ต้นเดือนพฤศจิกายน ปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ เฉพาะรายได้จากการท่องเที่ยวแล้ว ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ ที่ผ่านมาทางวัดจำหน่ายโคมให้คนบูชาจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ กว่าดวงๆละ ๙๙ บาท เป็นเงินโดยประมาณ ๑๔,๘๕๐,๐๐๐ บาทและเทศบาลเมืองลำพูน จำหน่ายโคมให้คนบูชาจำนวน ๗๐,๐๐๐ กว่าดวงๆละ ๕๙ บาท เป็นเงินโดยประมาณ ๔,๑๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งคาดการณ์ว่ามีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดลำพูนมากกว่าจำนวนโคมกว่าเท่าตัวก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพและกระจายรายได้ให้กับชุมชน ที่ทำโคม ทำสวยดอก(กรวยดอกไม้) ส่งให้กับวัดเพื่อให้พุทธศาสนิกชนบูชา ตลอดจนเกิดการจ้างงานศิลปินพื้นบ้านทุกแขนงมาแสดงในงาน ถือเป็นรายได้ที่กระจายสู่ชุมชนตลอดห้วงการจัดงาน

สภาพปัจจุบัน

ปัจจุบันงานเทศกาลโคมแสนดวงเมืองลำพูนกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม -๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ โดยหลักจะดำเนินการจัดกิจกรรมจำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ ๑. บริเวณลานวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ซึ่งมีนักท่องเที่ยวและประชาชนชาวลำพูนให้ความสนใจเดินทางมาถวายโคมเป็นจำนวนมาก โดยจำหน่ายโคมในราคาใบละ ๙๙ บาท ทั้งนี้ทางวัดได้มีการเตรียมพร้อมรองรับมาตราการการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ลดความแออัดในรูปแบบ “New Normal” ลดความเลี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิด-19 และดำเนินการตามรูปแบบ D-M-H-T-T-A เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ๒. บริเวณลานอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่มีการจัดมาตรการจองคิวเที่ยว “เทศกาลโคมแสนดวงเมืองลำพูน’ ล่วงหน้าผ่าน QR Code เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้กดจองคิวถวายโคมล่วงหน้า รอบละ ๕๐ คน ครั้งละ ๒๐ นาที เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ –๒๒.๐๐ น. เพื่อรองรับมาตราการการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ลดความแออัดการเข้าใช้พื้นที่ในรูปแบบ “New Normal” และดำเนินการตามรูปแบบ D-M-H-T-T-A เพื่อลด การแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

ดังนั้น งาน "เทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน" จึงไม่ได้เป็นแค่เทศกาลท่องเที่ยวที่สร้างความงดงาม เพียงอย่างเดียว แต่ยังแฝงถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งเรื่องความศรัทธาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม ตลอดจนเป็นการสร้างรายได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้คุณค่าของทุนทางวัฒนธรรม สู่การสร้างสรรค์สินค้าและบริการ ทำให้วัฒนธรรมไทยเป็นที่ยอมรับในสายตาชาวโลก และมีความพร้อมสู่การยกระดับสู่งานประเพณีท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด งานศิลปวัฒนธรรม รวมถึงการสืบสานวัฒนธรรมของชาติ การรักษาหวงแหนมรดกทางวัฒนธรรม การต่อยอดวัฒนธรรม ด้วยการนำคุณค่าของวัฒนธรรม สร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรมต่อไป

สถานที่ตั้ง
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จังหวัดลำพูน
อีเมล์ culturelamphun@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
จังหวัด ลำพูน
โทรศัพท์ 053511243
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่