ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 22' 44.4721"
15.379020022606214
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 58' 35.0551"
99.97640419006346
เลขที่ : 194976
ขนมแดกงา บ้านท่าโพ ตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
เสนอโดย อุทัยธานี วันที่ 27 ตุลาคม 2564
อนุมัติโดย อุทัยธานี วันที่ 29 มีนาคม 2566
จังหวัด : อุทัยธานี
0 706
รายละเอียด

ขนมแดกงา

ขนมแดกงา หรือบ้างก็เรียกขนมข้าวโปง เป็นขนมไทยโบราณ พบได้ในจังหวัดทางภาคกลาง เป็นขนมพื้นถิ่นของชาวบ้านท่าโพ ตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ที่มักจะทำรับประทานกันในชีวิตประจำวัน ด้วยขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยากมากนัก ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในครัวเรือน โดยตัวขนมทำมาจากข้าวเหนียว ซึ่งจะทำให้คนที่รับประทานรู้สึกว่าอิ่มท้องได้นานกว่าข้าว คำว่า “แดก” ในที่นี้หมายถึง ลักษณะการเอามาคลุกเอามาผสม เป็นเนื้อเดียวกัน คือการเอาข้าวหนียวนึ่งร้อนๆ มาตำในครกให้เป็นแป้งเหนียว

ส่วนผสมของขนมแดกงา ข้าวเหนียว แป้งข้าวเหนียว งาดำ น้ำตาล มะพร้าว ถั่วลิสง น้ำ และ เกลือ

การทำแป้งขนม

นำข้าวเหนียวแช่น้ำไว้ค้างคืน ล้างสะอาด นำไปนึ่งจนสุก นำข้าวเหนียวที่นึ่งสุก มาเทใส่ครกไม้ ใส่งาดำคั่วสุกตำละเอียดผสมเกลือเล็กน้อย ตำจนส่วนผสมต่างๆ เป็นเนื้อเดียวกัน มีลักษณะเหนียวหนึบหนับ

การทำไส้ขนม

เคี่ยวน้ำตาลปีบ ใส่งาดำตำละเอียดผสมถั่วลิสงคั่วบด เกลือเล็กน้อย เคี่ยวพอเคล้ากันได้สักพักยกลงปั้นเป็นลูกรอไว้

ขั้นตอนการทำขนมแดกงา
นำแป้งขนมที่เตรียมไว้มาปั้น ใส่ไส้ขนม ขนาดพอดีคำ ระหว่างปั้นให้ใช้งาดำที่ผสมไว้มาเป็นตัวคลุกเคล้า แป้งขนมเพื่อไม่ให้แป้งขนมติดกัน จัดใส่จานพร้อมรับประทาน

คำสำคัญ
ขนมพื้นบ้าน
สถานที่ตั้ง
บ้านท่าโพ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล ท่าโพ อำเภอ หนองขาหย่าง จังหวัด อุทัยธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสมจิตร ทิพย์ศิริ
บุคคลอ้างอิง นางเอมอร ศรีสุข อีเมล์ culture_uthai@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุทัยธานี
ตำบล อุทัยใหม่ อำเภอ เมืองอุทัยธานี จังหวัด อุทัยธานี รหัสไปรษณีย์ 61000
โทรศัพท์ 056 511290 โทรสาร 056 511290
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่