ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 58' 35.8262"
15.9766184
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 32' 14.3927"
100.5373313
เลขที่ : 194089
ขนมฝักบัว
เสนอโดย พิจิตร วันที่ 4 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 4 กันยายน 2564
จังหวัด : พิจิตร
1 1414
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

ขนมไทยมีหลากหลายชนิด มีทั้งขนมที่ต้องทำอย่างประณีตประดิดประดอยและขนมพื้นบ้านที่ทำอย่างง่ายๆ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงขนมไทยแบบบ้านๆที่หาได้ในตลาดท้องถิ่นคือขนมดอกบัวหรือ “ขนมฝักบัว”

ขนมดอกบัวหรือขนมฝักบัวเป็นชื่อที่คนภาคกลางใช้เรียกกัน คนภาคใต้เรียก "จูจุ่น" ชาวเขมรสุรินทร์เรียก "ขนมโช้ก" นิยมใช้ในพิธีแต่งงานและพิธีการต่างๆเนื่องจากขนมชนิดนี้มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้า และโชคลาภ สูตรดั้งเดิมแต่โบราณคือ แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลปี๊บหรือน้ำตาลมะพร้าว และกะทิ ปัจจุบันมีการดัดแปลงโดยใส่น้ำใบเตยแทนน้ำเปล่าทำให้เป็นสีเขียวสวยน่ารับประทาน บางครั้งมีการใช้สีจากธรรมชาติสีอื่นๆ ลักษณะที่ดีของขนมฝักบัวคือแป้งนุ่มขอบขนมต้องกระดกขึ้นมาโดยที่ตรงกลางนูนและนุ่ม รสชาติหวาน และด้านล่างของขนมเป็นใยเหมือนสายบัว

ลักษณะของขนมฝักบัวในตลาดพื้นบ้านภาคอีสานมีความแตกต่างออกไปคือมีขอบสีน้ำตาลเข้มให้สัมผัสที่กรอบกำลังดี ตัดกับเนื้อแป้งหอมนุ่มสีเขียวอ่อนที่นูนขึ้นตรงกลาง รสชาติหวานมัน สามารถทานได้อย่างเพลิดเพลิน ปัจจุบันเป็นขนมที่หาทานได้ยากแต่สามารถทำทานได้ภายในครัวเรือนอีกทั้งวิธีการทำไม่ยุ่งยาก หากคนในครอบครัวใช้เวลาร่วมกันในการทำขนมชนิดนี้ทาน นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ขนมไทยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลาแล้วยังทำให้ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวแนบแน่นเหมือนสายใยของขนมดอกบัวด้วย

วัตถุประสงค

1)เป็นขนมที่สามารถหารับประทานได้ยากในปัจจุบัน จึงอยากทำขนมเพื่อให้ลูกหลานได้สืบทอดไว้

2) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

วัสดุ/อุปกรณ์

1) แป้งข้าวเจ้า 2 ถ้วย

2) แป้งข้าวเหนียว ¼ ถ้วย

3) น้ำตาลทราย ½ ถ้วย

4) น้ำมัน 2 ถ้วย

5) น้ำใบเตย ¼ ช้อนชา

6) น้ำสะอาด ½ ถ้วย

7) เกลือเล็กน้อย

กระบวนการ/ขั้นตอน (ทำอย่างไร)

1) เทแป้งทั้งสองชนิดกันรวมกัน ละลายน้ำตาล เกลือ และน้ำใบเตยในน้ำสะอาดคนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันจนเป็นครีมข้นเข้ากันดี และตั้งพักไว้

2) ตั้งกระทะใส่น้ำมัน ควรใช้กระทะก้นลึกใบเล็กๆ รอจนน้ำมันร้อน ตักแป้งหยอดลงในกระทะทอด ทีละชิ้น คอยตักน้ำมันรดบนขนมให้ทั่วระหว่างทอด พอขอบขนมเริ่มสุกเหลืองกรอบ จึงพลิกกลับอีกข้างทอดให้สุกทั่วดี แล้วจึงตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน

คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้

1)คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

- เป็นการรักษาสืบสานขนมไทยโบราณให้คงอยู่

- มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการทำขนมไทย (ขนมฝักบัว) เพิ่มขึ้น

2)บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

- เพี่อให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีความรู้ขนมไทยโบราณที่หาทานได้ยากในปัจจุบัน

- เพี่อส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม

- ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร เข้าร่วมกิจกรรมสาธิตการทำขนมไทยพื้นบ้าน งานหลวงพ่อเขียน (สาธิตการทำขนมฝักบัว) ในงานสักการะหลวงพ่อเขียน เยี่ยมเยียนดงเจริญ ประจำปี พ.ศ. 2563

สถานภาพปัจจุบัน

1)สถานะการคงอยู่ขององค์ความรู้ :มีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย

2)สถานภาพปัจจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยคุกคาม

-สถานการณ์ปัจจุบันของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID -19 ทำให้ไม่สามารถทำขนมฝักบัวขายได้เหมือนเดิม

ข้อเสนอแนะ

- เด็ก และเยาวชน ในพื้นที่ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ ควรมีการเรียนรู้ รักษา ต่อยอด การทำขนมฝักบัวของท้องถิ่นให้ยังคงอยู่

ข้อมูลอ้างอิงบุคคล

นางจำรัส ศรีสนธิ์ ตำแหน่ง ปราชญ์ชาวบ้าน อยู่หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66210 เบอร์โทรศัพท์ 087 - 1947466

ข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ

1)D-Mathhistory. (2559). ขนมดอกบัวขนมทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21สิงหาคม 2564 . แหล่งที่มา:http://oknation.nationtv.tv/blog/MATHHISTORY/2016/04/03/entry-1.

2) Dao Naibann. (2561). แบ่งปัน “ขนมฝักบัว”.สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2564 . แหล่งที่มา: https://www.naibann.com/deep-fried-rice-flour-recipe/.

คำสำคัญ
ขนมฝักบัว
สถานที่ตั้ง
บ้านนางจำรัส ศรีสนธิ์
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 5 ซอย - ถนน -
ตำบล ห้วยร่วม อำเภอ ดงเจริญ จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
บุคคลอ้างอิง นางสาวเบญจรัตน์ พรานระวัง อีเมล์ culture.phichit01@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร อีเมล์ culture.phichit01@gmail.com
เลขที่ - ซอย - ถนน บุษบา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000
โทรศัพท์ 081-8742910 โทรสาร ุุ0 5661 2675
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/phichit
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่