อาหารพื้นบ้านชุมชนบ้านภูมิธรรม (ขนมดอกจอก) บ้านภูมิธรรมเป็นชุมชนหมู่ที่ ๒ ของตำบลน้ำซึม ซึ่งเรียกกันมาสืบเนื่องจากสมัยก่อนตามหมู่บ้านจะมีบ่อน้ำประจำหมู่บ้าน เพื่อไว้กินไว้ใช้ พอถึงฤดูแล้งน้ำในบ่อตามหมู่บ้านใกล้เคียง จะแห้งเกือบทุกบ่อ เหลือ เพียงบ่อเดียวในตำบลน้ำซึม จะมีน้ำไหลซึมออกมาทั้งปี ไม่มีวันแห้ง ทุกคนในบ้านต่างๆ จึงพากันมาใช้น้ำในบ่อนี้ และเรียกชื่อกันมาว่า ตำบลน้ำซึม ตำบลน้ำซึมได้รับการยกฐานะขึ้นจากสภาตำบลเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2539 ประชาชนในพื้นที่ตำบลน้ำซึมอาศัยอยู่ร่วมกันแบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีคุณภาพชีวิตที่ดี เนื่องจากได้รับการบริการขั้นพื้นฐานที่เหมาะสม ทั้งด้านการศึกษาและ ด้านสาธารณูปโภค และนอกเหนือไปกว่านั้น ประชาชนในตำบลก็ยังปฏิบัติตน ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกๆด้าน อาหารพื้นบ้านจึงเป็นอาหารที่ประชาชนทั่วไปสามารถทำได้ขนมดอกจอกขนมดอกจอก กำลังจะหายไปจากสังคมไทยเรื่อยๆ เพราะไม่ค่อยมีคนขายกันเท่าไหร่ เด็กรุ่นใหม่ก็จะไม่เคยได้กิน ขนมดอกจอกกรอบๆ ที่มีรูปลักษณ์ที่สวยจึงคิดไปต่างๆ นานาว่าทำยาก แต่แท้ที่จริงแล้วเราแค่มีแม่พิมพ์รูปดอกจอกก็สามารถทำได้แล้ว
ส่วนผสม๑. แป้งข้าวเจ้า 350 กรัม ๒. แป้งมัน 50 กรัม ๓.น้ำตาลทราย 1 ถ้วย ๔.น้ำปูนใส 1 ถ้วย ๕.หัวกะทิ 1 ถ้วย ๖.ไข่ไก่ 1 ฟอง ๗.งาขาวคั่ว ตามชอบ ๘.งาดำคั่ว ตามชอบ ๙.น้ำมันบัว 1 ลิตรวิธีทำ1.ผสมแป้งโดยใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลทราย น้ำปูนใส และหัวกะทิ ผสมให้เข้ากัน แล้วใส่ไข่ลงไปตีให้เข้ากันอีกครั้ง 2.ผสมงาขาวและงาดำลงไป คนให้ทั่ว 3.ตั้งกระทะเทน้ำมันให้ท่วม รอให้ร้อน นำแม่พิมพ์สำหรับทำขนมดอกจอกลงไปแช่ในน้ำมันให้แม่พิมพ์มีความร้อน 4.นำแม่พิมพ์ลงไปจุ่มกับแป้งแล้วนำไปทอด เมื่อขนมเริ่มเซ็ตตัวแล้วแกะแม่พิมพ์ออก ทอดจนสุกเหลืองทั้งสองด้าน 5.นำขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน จัดเรียงใส่จาน