ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)
“ประเพณีบุญเดือนสี่ไทคอนสาร” เป็นประเพณีของชาวอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่สมัยโบราณ ชาวอำเภอคอนสารถือว่าเป็นประเพณีสำคัญที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น มีการแต่งกายพื้นเมืองที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทคอนสาร มีการจัดขบวนแห่ มีการละเล่นพื้นบ้าน มีการประกวดคั่วเนื้อคั่วปลา ข้าวตอกข้าวเฮียง และมีการแสดงแสงสีเสียง เป็นต้น โดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพ่อค้าประชาชนชาวอำเภอคอนสาร ได้กำหนดจัดงานส่งเสริมประเพณีท้องถิ่นเทศกาลท่องเที่ยวบุญเดือนสี่ ประเพณีไทคอนสาร และงานมหกรรมอาหารพื้นบ้านลานวัฒนธรรม ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี ณ ลานวัดเจดีย์ และสนามหน้าที่ว่าการอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เพื่อสืบสาน ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่งานประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
ความโดดเด่น/อัตลักษณ์เฉพาะ
งานบุญเดือนสี่ประเพณีไทคอนสาร ชาวบ้านจะพากันออกไปละเล่นตามลานวัด ลานหมู่บ้าน การละเล่นที่สำคัญคือการเล่นสะบ้า มีความโดดเด่นคือใช้ลูกสะบ้าจริงๆ ที่เก็บมาจากในป่ามาเป็นอุปกรณ์การละเล่น โดยก่อนจะถึงช่วงดังกล่าวชาวบ้านจะหยุดการทำงานทุกอย่างเพื่อร่วมทำบุญ สะสมอาหารไว้กิน
๕๒
ในช่วงงาน อาหารที่นิยมทำไว้คือ คั่วเนื้อ คั่วปลา ข้าวตอก ข้างเฮียง ถือเป็นวิถีชีวิตที่ดีงามของไทยคอนสาร ที่ควรอนุรักษ์สืบสานไว้ให้อยู่อย่างยั่งยืน
พื้นที่ปฏิบัติ/แสดง
บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
ความสัมพันธ์กับชุมชน
งานบุญเดือนสี่ประเพณีไทคอนสาร กำหนดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ถึงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๔ ของทุกปี ถือกันว่าเป็นเทศกาลปีใหม่ของไทคอนสารพอถึงช่วงนี้ชาวบ้านจะพากันทำบุญตักบาตร สักการะพระประธาน ๗๐๐ ปี ที่วัดเจดีย์ ขอลาภขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
ผู้ถือปฏิบัติและผู้สืบทอด
๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคอนสาร จำนวน ๙ แห่ง
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่ร่วมจัดกิจกรรม
๑) ส่วนราชการประจำอำเภอคอนสาร
๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอคอนสาร จำนวน ๙ แห่ง
จำนวนนักท่องเที่ยว/ผู้มาร่วมงานปีละประมาณ ๓,๐๐๐ คน