ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 54' 11.8058"
7.9032794
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 24' 39.2166"
98.4108935
เลขที่ : 192574
ฮั้วก๋วน (มงกุฎดอกไม้ไหว)
เสนอโดย ภูเก็ต วันที่ 27 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย ภูเก็ต วันที่ 2 เมษายน 2563
จังหวัด : ภูเก็ต
0 2404
รายละเอียด

ฮั้วก๋วน คือ เครื่องประดับศีรษะของเจ้าสาวในกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋า ที่ใช้สำหรับสวมใส่ในวันวิวาห์

โดยฮั้วก๋วนจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มงกุฎดอกไม้ไหว” หากอธิบายให้เห็นอย่างชัดเจนโดยการแยกมงกุฎ

๑ ชิ้น ออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนของตัวฐาน และ ส่วนของดอกดอกไม้ (เฉ่งก้อ) โดยแต่เดิมนั้นฮั้วก๋วนจะ

ประดิษฐ์ขึ้นจากดอกมะลิร้อยขึ้นเป็นมาลัย และประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากดิ้นทอง

ปรากฏพบในกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนชาติพันธุ์บาบ๋าที่ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดระนอง ตรัง สตูล กระบี่ พังงา

และภูเก็ต และภูมิประเทศใกล้เคียง เช่น ปีนัง มะละกา เป็นต้น

๑. สมัยโบราณ

๑.๑ ฮั้วก๋วนประดับดอกเฉ่งก๊อใช้สำหรับเจ้าสาวในการเข้าสู่พิธีวิวาห์ ฮั้วก๋วน สำหรับเจ้าสาวจะแยก

ออกเป็นสองส่วน คือ 1) ตัวฐานดอกมะลิ ประดิษฐ์จากดอกมะลิที่ร้อยเป็นมาลัย 2) ดอกเฉ่งก้อ คือดอกไม้

ไหวที่ประดิษฐ์ด้วยเส้นเงินเส้นทองเป็นกลีบดอกไม้ โดยส่วนใหญ่จะพบฮั้วก๋วนที่ประดับดอกเฉ่งก๊อสีทอง

มากกว่าดอกเฉ่งก้อสีเงิน เพราะมีความเชื่อว่าสีทองเป็นสีแห่งพลังอำนาจและความมั่งคั่งร่ำรวย

. ปัจจุบัน

๒.๒ ฮั้วก๋วนมีการพัฒนารูปแบบเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวก โดยการประกอบช่อดอกเฉ่งก๊อ

(ดอกไม้ไหว) เข้าไว้ด้วยกันกับฐานของฮั้วก๋วนเป็นชิ้นเดียวกันสำเร็จรูป มีการประดับตกแต่งด้วยคริสตัล

พลอยสี เพชรรูปแบบต่าง ๆ อย่างสวยงามและแปลกตา ซึ่งรูปแบบของฮั้วก๋วนในสมัยปัจจุบันมีการพัฒนา

ในรูปแบบที่แปลกใหม่เพื่อเป็นที่สร้างความน่าสนใจกับกลุ่มผู้บริโภค ตลอดจนเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม

ให้กับผลงานศิลปหัตกรรม โดยการพัฒนารูปแบบของฮั้ว ก๋วนในยุคสมัยปัจจุบัน ปรากฏพบวิธีการ

สร้างสรรค์ที่มีความสะดวกต่อการใช้สอยของสตรีในกลุ่มชาติพันธุ์บาบ๋าเมื่อเข้าสู่พิธีวิวาห์แบบสำเร็จรูป

และพัฒนารูปแบบขึ้นเป็นของที่ระลึกในโอกาสสำคัญเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน

ประวัติความเป็นมา

เมื่อชาวจีนเดินทางเข้าสู่ภาคใต้ของประเทศไทยก็นำวัฒนธรรมและประเพณีที่ติดตัวมาจากเมืองจีนมาปฏิบัติตามจารีตธรรมเนียมอย่างที่ตนนิยมปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ โดยเอกลักษณ์ที่เด่นชัดตามทัศนคติของคนไทยคือชาวจีนมีวิถีแห่งความสามารถด้านการพาณิชเป็นนิสัย มีความขยันอดทน มุ่งมานะ แม้จะเริ่มต้นจากการเป็นกุลีหรือกรรมกรเหมืองแร่ดีบุก จนกลายเป็นพ่อค้าเจ้าของตลาด สร้างโรงงานและสิ่งอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ตามอัตรากำลังของตนเองจนก่อให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวย ทำให้สตรีชาวพื้นถิ่นเล็งเห็นความสำคัญในความมุ่งมั่นและเกิดเป็นสัมพันธภาพของการสร้างชีวิตครอบครัว เมื่อก่อเกิดบุตรชายเรียกว่า “บาบ๋า” (บา-หบา) หากเป็นบุตรสาวเรียกว่า “ย่อหยา” หรือยอนยา และเกิดเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมแต่โดยรวมในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยที่พบการตั้งถิ่นฐานของชาวบาบ๋าประกอบด้วยจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง ตรัง สตูล และภูเก็ต จะนิยมเรียกทั้งบุตรชายและบุตรสาวรวมกันว่า "บาบ๋า“

เมื่อเข้าสู่พิธีวิวาห์ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการตกแต่งร่างกายเพื่อให้เกิดความสวยงามและสื่อความหมายถึงนัยสำคัญบางประการของสตรีลูกผสม คือการสวมมงกุฎดอกไม้ไหวประดับศีรษะ โดยใช้กรรมวิธีการสานกลีบดอกไม้ด้วยเส้นทองคำประดับตกแต่งในส่วนต่าง ๆ ของมงกุฎด้วยเพชร อัญมณีหรือไข่มุกแท้ โดยเริ่มต้นตัวฐานด้วยการล้อมมวยผมด้วยดอกมะลิสีขาว ปักประดับด้วยดอกไม้ไหว (ดอกเฉ่งก้อ) รอบมวยผมจำนวน ๑๒ ช่อดอก ตามธรรมเนียมความเชื่อของชาวจีนเรียกว่า “จับยี่ป่าย” ด้านหน้ามวยหอยโข่งประดับผีเสื้อ ๑ ตัว (ฮูเตี๊ยบ) ซึ่งกล่าวถึงนัยสำคัญของชีวิตในการแต่งงานที่มีความรักยั่งยืนดั่งดอกไม้และผีเสื้อที่เป็นของคู่กัน เหนือมวยหอยโข่งประดับหงส์ฟ้าลำตัวสีขาว เนื่องจากคนจีนเชื่อว่าหงส์เป็นใหญ่ในหมู่สัตว์ปีกจะปรากฏตัวในแผ่นดินที่สงบร่มเย็น มีเสียงร้องกังวานเหมือนเสียงขลุ่ย จึงเป็นการบอกกล่าวถึงนัยสำคัญให้เจ้าสาวทราบว่า เมื่อแต่งงานไปอยู่บ้านสามีจะต้องมีปิยวาจาที่อ่อนหวาน ปกครองครอบครัวด้วยความสงบร่มเย็น รวมทั้งเกสรบนดอกเฉ่งก๊อที่ยังเป็นเครื่องหมายบอกถึงความตื่นเต้นของเจ้าสาวในพิธีแต่งงานหากแต่มีความตื่นเต้นมากน้อยเพียงใด ดอกไม้ไหวบนศีรษะจะเกิดความไหวติงมากขึ้นเท่านั้น

จากการได้รับการสืบทอดปรากฏให้เห็นว่า “ฮั้วก๋วน” ที่ใช้สำหรับเจ้าสาวจะนิยมประดิษฐ์ขึ้นจากเส้นทอง ในลักษณะดอกไม้ที่มีความคล้ายคลึงกับดอกโบตั๋น หรือดอกเบญจมาศ โดยเรียกตามภาษาจีนกลางว่า “จงกั่วฮัว” ซึ่งแปลว่าดอกไม้สีทองแห่งความมงคล ฐานด้านล่างจะล้อมด้วยไข่มุกสีขาว เมื่อยุคสมัยเกิดการพัฒนาส่งผลให้รูปแบบของฮั้วก๋วนเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีความเสี่ยงต่อการสูญหาย

สถานที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
ตำบล รัษฎา อำเภอ เมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง รศ.ดร.สาวิตร พงศ์วัชร์
ตำบล รัษฎา อำเภอ เมืองภูเก็ต จังหวัด ภูเก็ต
โทรศัพท์ ๐๘๑๕๖๙๙๓๒๙
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่