พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล คฤหาสน์กูเด็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล จัดแสดงในคฤหาสน์กูเด็น ที่สร้างขึ้นโดยพระยาภูมินารถภักดี หรือตวนกูบาฮารุตดิน บินตำมะหง เจ้าเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2441 - 2459 เป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบโคโรเนียล สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จปักษ์ใต้ แต่มิได้ประทับแรม ต่อมาจึงใช้เป็นบ้านพักและศาลาว่าการเมืองสตูล จนกระทั่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี พ.ศ. 2484 อาคารหลังนี้ใช้เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น ใช้เป็นสำนักงานเทศบาล ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 - 2509 เป็นโรงเรียนเทศบาล 1 แล้วจึงใช้เป็นสำนักงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ตามลำดับกรมศิลปากรได้บูรณะปรับปรุงอาคารคฤหาสน์กูเด็นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และดำเนินการจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 - 2543พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล คฤหาสน์กูเด็น เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส อาคารชั้นล่างแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ระเบียง ห้องโถงกลาง ห้องปีก 2 ข้าง และโถงด้านหลัง มีบันไดขึ้นชั้นบนที่โถงกลางและโถงหลัง ชั้นบนแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ มุขด้านหน้า ห้องโถงกลาง และห้องปีก 2 ข้าง ห้องด้านหลัง และดาดฟ้า
การจัดแสดง
การจัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล แบ่งการจัดแสดงและพื้นที่ส่วนบริการรวม 10 ห้องดังนี้ห้องที่ 1ห้องข้อมูลข่าวสาร เป็นห้องสำหรับบริการอ่านหนังสือและค้นคว้าข้อมูล บริการชุมชน ภายในห้องมีตู้และชั้นวางหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้อ่านหนังสือสำหรับผู้มาใช้บริการห้องที่ 2ห้องภูมิหลังเมืองสตูล จัดแสดงเรื่องราวภูมิหลังเมืองสตูลด้านต่างๆ เช่น สภาพภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา เรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เหตุการณ์สำคัญในอดีตของเมืองสตูล วิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อยซาไกและเรื่องราวของเกาะตะรุเตา โดยการจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสตูล ตัวอย่างทรัพยากรแร่ของจังหวัดและฉากจำลองเหตุการณ์สำคัญห้องที่ 3ห้องประชาสัมพันธ์ สำหรับรับฝากของ จำหน่ายบัตรเข้าชม พิพิธภัณฑสถาน จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกห้องที่ 4ห้องวิถีชีวิตชาวสตูล จัดแสดงวิถีชีวิตชาวสตูลในด้านต่างๆ ได้แก่ ชีวิตชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะ การปั้นหม้อ-เผาหม้อแบบโบราณที่บ้านควนโดน ชีวิตชาวประมงที่ปากบารา โดยการจัดแสดงด้วยสื่อต่างๆ ประกอบด้วยหุ่นจำลองแสดงภาพวิถีชีวิต เครื่องฉายวีดิทัศน์พร้อมระบบเสียงห้องที่ 5ห้องจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว ใช้ในการจัดแสดงผลงานนิทรรศการต่างๆ พร้อมการบรรยายหรือการแสดงห้องที่ 6ห้องบ้านเจ้าเมือง จัดแสดงอัตชีวประวัติของพระยาภูมินารถภักดี เจ้าเมืองสตูล ผู้สร้างคฤหาสน์กูเด็น จัดแสดงแบบเครื่องเรือน เป็นข้าวของเครื่องใช้ตามแบบที่พระยาภูมินารถภักดีเคยใช้ แสดงเป็นมุมต่างๆ เช่น มุมห้องนอน มุมพักผ่อน และมุมห้องทำงาน เป็นต้นห้องที่ 7ห้องเรือนชานชาวบ้านสตูล จัดแสดงแบบบ้านจำลองชาวบ้านสตูล โดยจัดแสดงให้เห็นวิถีชีวิตชาวบ้านด้านต่างๆ เช่น ห้องครัว ห้องอาหาร ห้องนอน ห้องแต่งตัว เป็นต้นห้องที่ 8ห้องรับแขกร่วมสมัยกูเด็น จัดแสดงชุดรับแขกร่วมสมัยคฤหาสน์กูเด็น โดยสร้างขึ้นใหม่ตามรูปแบบเดิมห้องที่ 9ห้องวัฒนธรรมชาวไทย-มุสลิมในสตูล จัดแสดงตู้หุ่นจำลองแสดงการละเล่นของชาวไทยมุสลิม ตู้หุ่นจำลองแสดงภาพโรงเรียนปอเนาะ มุมจัดแสดงห้องละหมาด พิธีการเข้าสุนัต หุ่นจำลองพิธีกินเหนียว (แต่งงาน)ห้องที่ 10ส่วนชั้นดาดฟ้าและ Cafeteria เป็นส่วนจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่ม
โบราณวัตถุที่สำคัญประกอบด้วย
1. กาน้ำ ด้ามจับมีลวดลาย
2. กาน้ำ มีลวดลายพันธุ์พฤกษาโดยรอบ
3. แจกัน เขียนลายสีน้ำเงินบนพื้นขาวเป็นลวดลายกระท่อมและภูเขา
4. แจกันทรงสูง คอยาว เขียนลายปลามังกร กละเมฆ สีน้ำเงินบนสีขาว
5. จาน เขียนลายดอกไม้ ผึ้ง และผีเสื้อ
6. ชามขอบปากหยัก ภายในเคลือบสีเขียว รอบชามเขียนลายดอกไม้สีเหลือง สีชมพู
7. กริช