ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 54' 53.6616"
18.9149060
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 56' 21.3734"
98.9392704
เลขที่ : 188908
เครื่องปั่นฝ้าย
เสนอโดย saiyud วันที่ 1 พฤษภาคม 2556
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2556
จังหวัด : เชียงใหม่
0 1284
รายละเอียด

เครื่องปั่นฝ้ายหรือกรอไหมทางภาคเหนือเรียก กวง เป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องของล้อและเพลา ในสมัยโบราณเครื่องมือปั่นด้ายเรียกว่า “แว” มีลักษณะกลมใหญ่กว่าหัวแม่มือเล็กน้อย มีรูตรงกลางสำหรับเสียบไม้ปั่นด้าย ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องปั่นด้าย หรือ ไน ลักษณะทั่วไปของไน จะเป็นวงกลม ติดตั้งอยู่ระหว่างขาสองอันที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง และมีเหล็กสอดเป็นคันสำหรับหมุนวงล้อ ส่วนขาติดตั้งอยู่บนส่วนหัวของฐานที่ทำด้วยไม้ท่อนยาวประมาณ 30 นิ้ว โดยที่ส่วนปลายของท่อนไม้จะมีเหล็กไนสอดอยู่กับขาตั้งโดยโผล่เหล็กไนออกมา ไว้สำหรับเป็นที่สวมของหลอดไม้ไผ่ที่ทำเป็นที่กรอด้าย และระหว่างวงล้อจะมีสายพานทำด้วยเชือกโยงมาเพื่อหมุนเหล็กไน ดังนั้นเมื่อมีการหมุนวงล้อเหล็กไนก็จะหมุนไปด้วย

การใช้ประโยชน์เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปั่นฝ้ายให้เป็นเกลียวแน่นจนเป็นเส้นด้าย หรือใช้กรอเส้นด้ายเข้าไส้หลอดสำหรับเป็นเส้นพุ่ง โดยใช้คู่กับระวิงหรือกงกว้าง โดยการนำด้ายที่ผ่านการล้อหรือดิ้วจนเป็นหลอดแล้ว มาจ่อที่ไนแล้วหมุนวงล้อ ในขณะที่วงล้อหมุนไนก็จะหมุนตาม เกิดเป็นแรงเหวี่ยงที่ดึงม้วนด้ายที่จ่อไว้ตีเป็นเกลียว ให้ใช้มือที่ถือหลอดม้วนด้ายดึงออกจากไนจะทำให้เกิดเป็นเส้นด้าย จากนั้นให้ผ่อนแรงมือเส้นด้ายก็จะม้วนอยู่กับไน ทำเช่นนี้จนใกล้หมดม้วนด้ายก็นำม้วนด้ายใหม่ต่อเนื่องกันไปเป็นเส้นฝ้ายเดียวกันจนเต็มไน

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 ซอย - ถนน เชียงใหม่ - ฝาง
ตำบล ริมใต้ อำเภอ แม่ริม จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์
บุคคลอ้างอิง นางอุษา ศรีสุวรรณ
ชื่อที่ทำงาน พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 ซอย - ถนน เชียงใหม่ - ฝาง
ตำบล ริมใต้ อำเภอ แม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50180
เว็บไซต์ dara_museeum@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่