ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 35' 45.0474"
6.5958465
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 42' 25.0913"
101.7069698
เลขที่ : 182714
ขนมเจาะหู (ตือปงดือแร)
เสนอโดย pakariah วันที่ 7 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 31 พฤษภาคม 2565
จังหวัด : ปัตตานี
0 590
รายละเอียด

นางสาวอามีเน๊าะ สะนิ เล่าให้ฟังว่าได้รับการสืบทอดการทำขนมเจาะหู (ตือปงดือแร)มาจากคุณแม่ซึ่งมีอาชีพขายขนมในสมัยก่อน ตนเองได้เรียนรู้และฝึกทำขนมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันยึดเป็นอาชีพหลักสามารถ มีรายได้จุนเจือครอบครัว ในสมัยนี้ไม่ค่อยนิยมทำกัน เพราะยุคปัจจุบันมีขนมมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทาน เป็นขนมที่ทำกันในเทศกาลต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน เทศกาลเข้าสุนัขหมู่ งานเมาลิด งานอาซุรอ หรืออาจจะทำขายเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เป็นขนมที่สามารถรับประทานได้ ทุกฤดูกาล ซึ่งนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ส่วนใหญ่คนเฒ่าคนแก่จะชอบรับประทานร่วมกันน้ำชาขนมเจาะหู เป็นขนมโบราณชนิดหนึ่ง เป็นขนมที่มีรสชาติหอม หวาน อร่อย น่ารับประทาน ตนได้ไปจำหน่ายตามตลาดนัดทุกวัน

วัสดุ/ส่วนผสม

๑. แป้งข้าวเจ้า ๑ กิโลกรัม

๒. แป้งเข้าเหนียว ๒ กิโลกรัม

๓. น้ำตาลทรายหรือน้ำตาลปี๊บ ๑ กิโลกรัม

๔. เกลือ ๑ ช้อนโต๊ะ

๕. น้ำ

๖. น้ำมันพืช

วิธีทำ

๑ เตรียมแป้ง - นำแป้งข้าวจ้าวและแป้งข้าวเหนียวมาร่อน คลุกเคล้าให้เข้ากัน - นำเกลือมาละลายกับน้ำ - นำน้ำเกลือ น้ำตาลปี๊บมาละลายกับแป้งที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน

๒.น้ำมันใส่กระทะ

๓.นำเป็นแป้งที่ผสมเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วมาปั้นเป็นก้อนเล็กพอประมาณ ตั้งบนไฟให้ร้อนวางบนใบตอง แล้วนำมาแผ่บาง ๆ ให้มีลักษณะกลมแบน เจาะรูตรงกลาง

๔. นำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ จนสุกฟูเป็นสีน้ำตาล คล้ายขนมโดนัทของฝรั่ง จะได้เป็นขนมเจาะหูที่ต้องการและจะมีรสชาติกรอบนอกนุ่มใน

สถานที่ตั้ง
บ้านป่าไหม้
เลขที่ ๔๘/๓ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ดอนทราย อำเภอ ไม้แก่น จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาวอามีเน๊าะ สะนิ
บุคคลอ้างอิง นางสาวปการียะห์ เจะหะ อีเมล์ maikaen-ptn@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอไม้แก่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน
จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94220
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่