ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 0' 32.985"
15.0091625
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 47' 4.547"
104.7845964
เลขที่ : 180205
สะนูว่าวชาวอีสาน
เสนอโดย waiphod วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 4 มีนาคม 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 924
รายละเอียด

สะนูหรือ ทะนู (เขียนอย่างภาษาอีสาน) เป็นเครื่องเล่นประกอบว่าว ในภาคอีสานมาแต่โบราณ โดยมีส่วนประกอบหลักคือ คัน เคา เปิ้น คันสะนู ทำจากไม้ไผ่ซางไพ หรือไผ่บ้าน อายุตั้งแต่ ๓-๔ ปีขึ้นไปเพราะจะมีความแข็งเหนียว ยืดหยุ่นดี เคา หมายถึง ส่วนที่เป็นสายระหว่างเปี้น(ปื้น)สะนูกับปลายคันทั้งสองข้าง แต่ก่อนนิยมใช้สายไหมทำ แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ด้ายไนล่อนอ่อน เปี้น(ปื้น)เป็นตัวที่ทำให้เกิดเสียงเวลาต้องลมพัด เปี้นจะหมุนไปมาโดยมีเคาเป็นตัวยึด เกิดเป็นเสียงสูงต่ำ เปี้นสะนู ทั่วไปจะทำจาก ใบลาน ใบตาล ใบเกด (การะเกดหรือลำเจียก) ซึ่งใช้เป็นของเล่นเด็ก ถ้าเป็นสะนูมาตรฐาน จะทำจากหวายเพราะจะเหนียวและให้เสียงดี

อุปกรณ์ ในการทำสะนูว่าว1. หวายแก่ปล้องท่อๆกัน ขนาดนิ้วก้อย ยาว ๔ ปล้อง หรือตั้งแต่ ๙ กำมือขึ้นไป
2. มีดตอกสำหรับปาด เหลาเปี้นสะนู และคันสะนู 3. เหล็กซี (เหล็กหมาด) หรือเข็ม ขนาดประมาณซี่ก้านร่ม ตีปลายฝนให้แหลม สำหรับเจาะรูหัวสะนู 4. ด้ายสำหรับทำสายต่องหรือสายยน (ห่วงหัวสะนูเพื่อร้อยเคา)
วิธีทำ
นำไม้ไผ่ที่ผ่าแล้วมาวัดแบ่งครึ่งหรือระหว่างกึ่งกลางโดยใช้สายวัด สมัยก่อนไม่มีสายวัด ผู้ประดิษฐ์จะใช้นิ้วเป็นจุดคาดคะเนระดับกึ่งกลางจากการถ่วงน้ำหนัก เหลาไม้ไผ่ให้ได้ขนาดและรูปทรง การจัดรูปทรงไม้ไผ่ช่างจะใช้วิธีลนไฟแล้วดัดไม้ไผ่ให้ได้รูปทรง
หลังจากเหลาไม้ไผ่ได้ตามขนาดแล้วจะใช้กระดาษทรายขัดผิวให้เรียบ ลบรอยเสี้ยน นำไม้ไผ่ไปผึ่งแดดประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อทำให้ไม้ไผ่ดัดทรงง่ายและไม่คืนตัว จากนั้นนำไม้ไผ่ที่ผึ่งแดดมาถักลวดลายสะนูด้วยเส้นหวายเพื่อความสวยงาม เช่น ลายจูงนาง ซึ่งยังคงรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทยไว้ให้ได้เห็น
ต่อจากนั้นเหลาใบสะนู ซึ่งทำมาจากหวาย มีความยาวใกล้เคียงกับไม้ไผ่ที่เตรียมสำหรับทำสะนู เทคนิคการเหลาใบสะนูจะให้เหลือปมที่ปลายหวายทั้งสองข้างเพื่อเป็นหัวของใบสะนูมีลักษณะกลม ใบสะนูมีความหนาประมาณ 1 เซนติเมตร และกว้าง 1 เซนติเมตร เจาะใบสะนูทั้งสองข้างด้วยสว่านให้เป็นรูสำหรับผูกเส้นไหมหรือเอ็น
นำสายไหมหรือด้ายมาผูกใบสะนูทั้งสองข้างและติดชันโรงที่บริเวณปลายสุดของใบสะนู แล้วนำใบสะนูมาผูกติดกับไม้ไผ่ที่เหลาไว้โดยดึงให้ตึงพอสมควร เริ่มทดสอบเสียงของสะนูให้ไพเราะโดยการนำชันโรงมาติดกับใบสะนูเป็นจุดๆ เพื่อปรับแต่งเสียงให้ไพเราะ เมื่อได้เสียงที่ต้องการแล้วจึงนำมาผูกติดกับว่าว ซึ่งสะนูอาจจะมีการตกแต่งให้สวยงามด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ใช้เส้นไหมผูกหรือทาน้ำมันเคลือบเงาให้สวยงามเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
การทำแอกหรือสะนูจึงนับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่นที่หาดูได้ยาก จึงควรที่จะมีการเผยแพร่ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสืบทอดก่อนที่จะสูญหายไปกับสายลมแห่งกาลเวลา.

คำสำคัญ
สะนูว่าว
สถานที่ตั้ง
บ้านบูรพา
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๙ ซอย - ถนน -
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมตำบลสำโรง
บุคคลอ้างอิง นายไวพจน์ อ่อนวรรณะ อีเมล์ waiphod@yahoo.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสำโรง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 9 ซอย - ถนน พระภิบาล
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34360
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่