หมู่บ้านสระไม้แดงเป็นพื้นที่ ที่เป็นเนินเขาสูงเตี้ยสลับกัน มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมามีราษฎรอพยพมาจากจังหวัดทางภาคอีสาน โดยเฉพาะมาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ แบ่งเป็น ๒ กลุ่มบ้าน คือ กลุ่มสระไม้แดง และกลุ่มหนองค้า ต่อมาหมู่บ้านสระไม้แดงได้รับการยกฐานะเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงให้ชื่อว่าหมู่บ้านสระไม้แดง เนื่องจากมีจำนวนราษฎรมากกว่าและเรียกชื่อหมู่บ้านว่า“สระไม้แดง”มาจนถึงปัจจุบัน
อาณาเขตของหมู่บ้านสระไม้แดง
ทิศเหนือติดต่อ บ้านวังไทร หมู่ที่ ๗และบ้านท่าม่วงหมู่ที่ ๙ ตำบลคู้ยายหมี
ทิศใต้ ติดต่อ บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๑๓ ตำบลคู้ยายหมี
ทิศตะวันออกติดต่อ บ้านท่าม่วง หมู่ที่ ๙ ตำบลคู้ยายหมี
ทิศตะวันตกติดต่อ บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๑๓ ตำบลคู้ยายหมี
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินเป็นดินปนทราย เนินเขาไม่เก็บน้ำ มีลำคลองธรรมชาติไหลผ่าน คือคลองระบมไหลผ่านมีน้ำตลอดปี
สภาพสังคมประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยภาคกลาง และภาษาถิ่นลาวพวน มีขนบธรรมเนียมประเพณี ภาคกลางผสมประเพณีวัฒนธรรมภาคอีสาน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรผสมผสาน และหมอทำขวัญ การประกอบอาชีพของประชาชาชนส่วนใหญ่ ได้แก่ การทำนา ทำไร่ การเพาะเห็ดฟาง และมีอาชีพเสริมได้แก่ การปลูกพืชระยะสั้น การทอผ้า มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ ปัจจุบันบ้านสระไม้แดง มีนายเชษฐา ภูสมที เป็นผู้ใหญ่บ้าน