ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 14.88"
17.0208
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 42' 13.7484"
99.703819
เลขที่ : 169051
วัดตระกวน
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1448
รายละเอียด
ชื่อ วัดตระกวน อายุ สมัยสุโขทัย ที่อยู่แหล่งที่ตั้ง อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สถานภาพของสถานที่ เป็นวัดร้างได้รับการบูรณะและดูแลโดยกรมศิลปากร ความสำคัญในอดีต - สภาพทางภูมิศาสตร์ ตั้งบนพื้นที่ราบ สภาพทางเศรษฐกิจสังคม - ลักษณะเด่นทางวัฒนธรรม มีการค้นพบพระพุทธรูปสุโขทัย แบบที่เรียกว่า พระพุทธรูปแบบหมวดวัดตระกวน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยแรกของสุโขทัยที่วัดแห่งนี้ ประวัติความเป็นมา ชื่อวัดตระกวน เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2450 เป็นอย่างน้อยซึ่งน่าจะเป็นชื่อเดิมของวัดตระกวน ที่ปรากฏในศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ ซึ่งเล่าเรื่องราวเมื่อกลางศตวรรษที่ 20 ว่า “มหาเถรธรรมไตรโลกฯ จากตำบลดาวขอนขึ้นมาเยี่ยมหลาน ซึ่งเป็นพระมหาธรรมราชาองค์หนึ่งผู้ครองเมืองสุโขทัย ท่านได้มาพำนักที่วัดตระกวนนี้” คำว่า “ตระกวน” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เป็นภาษาเขมร แปลว่า ผักบุ้ง มีโบราณสถานที่ปรากฏ มีเจดีย์ประธานทรงระฆังกลมและพระอุโบสถตั้งอยู่ที่ด้านตะวันออก ล้อมรอบด้วยคูน้ำ สถานที่สำคัญ เจดีย์ประธานทรงระฆังกลมและพระอุโบสถ
หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดตระกวน
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ 0-5569-7310
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่