ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 43' 53.958"
13.731655
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 30' 47.7"
100.51325
เลขที่ : 164964
วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 19 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 19 ตุลาคม 2555
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
0 1505
รายละเอียด

“วัดแม่พระลูกประคำ”หรือ“วัดกาลหว่าร์” เป็นโบสถ์คริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกเก่าแก่ ซึ่งโบสถ์หลังแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ปี ค.ศ.1786 (พ.ศ. 2329) โดยกลุ่มคริสตังชาวโปรตุเกสที่รอดจากการจับกุม หรือถูกฆ่าจากทหารพม่าในเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับที่ย่าน กุฎีจีน แต่เนื่องจากไม่ยอมรับการปกครองของพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศส จึงแยกมาตั้งชุมชนและโบสถ์ ณ ที่ดินปัจจุบัน ต่อมาชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่บนที่ดินผืนนี้ค่อยๆ อพยพโยกย้ายไปทำมาหากินในที่ต่างๆ จึงมีจำนวนลดลง เรื่อยๆ และมีชาวจีนเข้ามาอยู่อาศัยแทน จึงได้มีการบูรณะสร้างโบสถ์ใหม่เป็นโบสถ์ครึ่งอิฐครึ่งไม้ ทำพิธีเสกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1839 (พ.ศ. 2382) โดยตั้งชื่อว่า วัดแม่พระลูกประคำแต่ชาวจีนยังคงเรียกว่า วัดกาลหว่าร์ และในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1864 (พ.ศ.2407) ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ ตัวโบสถ์ไม่เสียหาย แต่หลักฐานสำคัญของวัดได้ถูกทำลายไป

ส่วนโบสถ์ปัจจุบันเป็นโบสถ์หลังที่ 3 ที่สร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ.2433) มีรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบคอทิก คือส่วนหน้าเป็นยอดแหลมพุ่งสูง ประดิษฐานไม้กางเขน ขอบซุ้มประตูหน้าต่างเป็นเส้นโค้งหรือยอดแหลมคล้ายโดม ภายในประดับด้วยกระจกสีงดงาม โครงสร้างหลังคาเป็นโครงสร้างไม้ลักษณะเป็น โครงถัก มีการใช้ลวดสลิงขนาดใหญ่ดึงระหว่างโครงสร้างแทนการใช้ไม้ ส่วนของโครงบริเวณหัวโบสถ์มีลักษณะเป็นโวลท์ครึ่งซีกโอดโถง

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 1318 ซอย วานิช 2 ถนน โยธา
ตำบล ตลาดน้อย อำเภอ เขตสัมพันธวงศ์ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อรวินท์ เมฆพิรุณ อีเมล์ orrawin@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่