ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 46' 2.0536"
13.7672371
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 50' 34.0696"
99.8427971
เลขที่ : 163640
ประเพณีส่งข้าวแช่ (เปิงสงกรานต์)
เสนอโดย ราชบุรี วันที่ 9 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ราชบุรี วันที่ 28 กันยายน 2565
จังหวัด : ราชบุรี
0 500
รายละเอียด

นางสอางค์ พรหมอินทร์ เกิดวันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔ ภูมิลำเนาตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี วุฒิ ม.๖ กศน.วัดดอนตูม อยู่บ้านเลขที่ ๙๙ หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๒ – ๓๗๒๓๙๒ มือถือ ๐๘๙ – ๘๘๕๘๘๑๗ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีส่งข้าวแช่ ดังนี้

ประเพณีส่งข้าวแช่(เปิงสงกรานต์) เป็นประเพณีของชาวไทยเชื้อสายมอญ ในเขตตำบลคุ้งพยอม ตำบลนครชุมน์ ตำบลบ้านม่วง จัดขึ้นในเทศกาลเปิงสงกรานต์ ตามประเพณีของชาวมอญ โดยมีการทำสำหรับข้าวแช่ เพื่อนำไปถวายพระและญาติผู้ใหญ่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี

คนไทยเชื้อสายมอญเชื่อว่าวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์ เป็นวันที่เทวดารักษาโลกเสด็จกลับสู่สวรรค์ เป็นวันสิ้นปีเก่า วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันเนาหรือวันว่าง วันนี้ไม่มีเทวดารักษาโลก อยู่ระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ วันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่หรือวันเถลิงศก เป็นวันที่เทวดาองค์ใหม่เสด็จลงมารักษาโลกมนุษย์ คนไทยเชื้อสายมอญลุ่มน้ำแม่กลอง จึงจัดสร้างศาลเพียงตาหรือฮ็อยซะเมิญซังกราน พร้อมเครื่องบูชา อาหาร ต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ที่บริเวณหน้าบ้านตนแทบทุกครัวเรือน

ก่อนถึงเทศกาลสงกรานต์ คนไทยเชื้อสายมอญ จะทำความสะอาดบ้านเรือนเตรียมต้อนรับปีใหม่และญาติพี่น้องวันที่ ๑๒ เมษายน ทุกบ้านเตรียมจัดทำอาหารที่รับประทานกับข้าวแช่ ได้แก่ กะเจีย หรือปลาป่นหวาน ยำขนุนอ่อน ยำมะม่วง ผัดผักกาดหวาน ผัดก๋วยเตี๋ยว กะปิทอด กระเทียมดองผัดไข่ อาหารที่ผัด คนมอญจะผัดด้วยหัวกะทิสด ทำให้ได้รสชาติที่อร่อยกว่า ส่วนขนม ก็คือ กาละแม

วันที่ ๑๓,๑๔ และ ๑๕ ทุกครอบครัวจะตื่นแต่เช้าเตรียมทำข้าวแช่และอาหารที่รับประทานกับข้าวแช่อีกประมาณ ๓ – ๔ อย่าง นำไปส่งที่วัดในชุมชนของตนและวัดในชุมชนใกล้เคียง ผู้ที่ไปส่งข้าวแช่ส่วนใหญ่จะเป็นลูกหลานในวัยหนุ่มสาวข้าวแช่มีกลิ่นหอมอบอวลด้วยกลิ่นดอกมะลิหรือเทียนอบใส่ถาดและถ้วยชามที่สวยงาม บางบ้านประดิษฐ์กระทงใบตองสวยงามและเบา สะดวกในการไปส่งข้าวแช่ที่วัด ใกล้บ้าง ไกลบ้าง ตามกำลังกายและกำลังศรัทธา แต่ก็พยายามถวายให้มากวัดที่สุด เพราะโอกาสที่ทำบุญเช่นนี้มีเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ปัจจุบันการคมนาคมสะดวก มียานพาหนะใช้กันแทบทุกครัวเรือน ชาวมอญจึงสามารถไปส่งข้าวแช่ให้วัดในชุมชนอื่นที่มิใช่เชื้อสายมอญ เป็นการบำเพ็ญบุญในเทศกาลสงกรานต์ที่น่าชื่นชมยิ่ง

หลังจากได้ส่งข้าวแช่ตามวัดต่าง ๆ แล้ว จะรีบรับประทานอาหารเช้า จากนั้นก็ไปส่งข้าวแช่หรือขนมให้แก่ญาติผู้ใหญ่ เป็นการแสดงมุทิตาคารวะ ได้พูดคุย ถามทุกข์สุขกัน ได้รับทราบลำดับญาติและสายสัมพันธ์ที่แนบสนิท มีความเกี่ยวดองกัน ใกล้ชิดกัน ญาติผู้ใหญ่ให้พร ได้รับการแนะนำอบรมสั่งสอน ทำให้เกิดความรัก ความเคารพ ความอบอุ่น มีความผูกพันแนบแน่นยิ่งขึ้น

สถานที่ตั้ง
บ้านม่วง
หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล บ้านม่วง อำเภอ บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสอางค์ พรหมอินทร์
ตำบล บ้านม่วง อำเภอ บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70110
โทรศัพท์ 089-8858817
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่