กลองยาวต้นมะขาม เป็นแบบอย่างอนุรักษ์ไทยเป็นการวางรากฐานแนวทางสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอบ้านหมอ ทางชุมชนต้นมะขามใช้แนวทางของภูมิปัญญาท้องถิ่นและคิดว่าควรยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และยั่งยืนจึงควรที่จะคิดทำกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมกันมาก ๆ และสามารถกระทำอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องจัดกันเป็นประจำทุกปี จึงคิดว่าดนตรีส่วนใหญ่ก็ใช้ไม้ไผ่มาตัดแต่ง ตีเคาะ ให้เป็นเพลง แล้วร้องเพลงพื้นบ้านเช่น เพลงนางตาลและลิงลมก็ได้โดยแต่งชุดโจงกระเบนที่ต่างคนต่างหามา ส่วนเสื้อผ้าก็แล้วแต่จะจัดซื้อให้เหมือน ๆ กัน หรือหามาเองก็ได้ โดยในการนี้ได้ รับความอนุเคราะห์ จากครูเต่า ครูสอนกลองยาวจากหมู่ที่ ๑๐ ตำบลบ้านหมอ มาเป็นอาจารย์ฝึกสอนกลองยาว โดยกลองยาวได้สั่งทำจากบ้านวิมานดินขาวเลขที่ ๑๑๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี ๑๘๑๓๐ โทร๐๘-๙๒๓๕-๘๙๒๕ มีนายวิษณุ สมบัติพานิชเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการเชี่ยวชาญด้านการผลิตกลอง ที่มีเสียงไพเราะ ระดับกรมศิลปากรให้ความเชื่อถือทั้งการซ่อมแซมและสั่งทำเป็นประจำ จึงถือว่าอำเภอบ้านหมอ มีทั้งผู้ผลิตกลองยาว, ครูผู้สอนขั้นพื้นฐาน และผู้เล่นกลองยาว ซึ่งถือว่าครบวงจรของกิจกรรมกลองยาว
กลุ่มผู้เล่นกลองมี ๒ ชุดคือ
๑. กลุ่มชาวบ้านต้นมะขาม คือกลุ่มชาวบ้านในเขตเทศบาลต.บ้านหมอ ใครว่างก็มาฝึกซ้อม
๒. กลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นเด็กนักเรียนของโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลบ้านหมอ คือโรงเรียนอนุบาลบ้านหมอ(พัฒนราษฎร์)