ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 6' 9.4658"
18.1026294
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 8' 2.4961"
100.1340267
เลขที่ : 153551
ตำบลร่องกาศ
เสนอโดย jaturapat วันที่ 28 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย แพร่ วันที่ 5 กันยายน 2555
จังหวัด : แพร่
0 420
รายละเอียด

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอสูงเม่น ห่างจากอำเภอเมืองแพร่ ๖

กิโลเมตร ห่างจากอำเภอสูงเม่น ๖ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 17.42 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 10,888 ไร่ ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

1

ตอนิมิตร

2

ร่องกาศ

3

ร่องกาศ

4

ร่องกาศ

5

ร่องกาศใต้

6

ปงพร้าว

7

ดอนทัน

8

ตอนิมิตร

9

ตอนิมิตร

10

แม่สาย

11

ร่องกาศใต้

ประวัติความเป็นมาของบ้านร่องกาศ

บ้านร่องกาศ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่หมู่บ้านหนึ่ง อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปทางทิศใต้ ระยะห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ชาวบ้านร่องกาศ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใน 3 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 2,หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 โดยหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของถนนยันตรกิจโกศล ส่วนหมู่ที่ 4 ตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของถนน

จากที่ตั้งดังกล่าวบ้านร่องกาศจึงเป็นหมู่บ้านที่เป็นศูนย์กลางของตำบลร่องกาศ ปัจจุบันจึงได้รับเลือกให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลร่องกาศ

จากการศึกษาประวัติหมู่บ้านร่องกาศ ไม่พบหลักฐานเก่าแก่ที่บันทึกเรื่องราว การตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านร่องกาศ แต่จากคำบอกเล่าของคนแก่คนเฒ่าในหมู่บ้านและเอกสารพงศาวดารปราบเงี้ยวของกรมศิลปากร ทำให้เชื่อได้ว่าหมู่บ้านนี้ตั้งมานานมากกว่าร้อยปีมาแล้วและบ้านร่องกาศ เป็นหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมืองแพร่ คือ เหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่

ชื่อบ้านร่องกาศ เป็นชื่อที่เขียนและเรียกตามสำเนียงภาษาไทยกลาง แต่ในภาษาคำเมืองซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่ชาวบ้านใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกชื่อหมู่บ้านของตนว่า “บ้านฮ่องกาด” ชื่อนี้ได้มาจากการรวมคำ 2 คำ เข้าด้วยกันคือคำว่า “ ฮ่อง ” และคำว่า “ กาด ”

คำว่า “ฮ่อง” ในที่นี้มีความหมายถึง ร่องน้ำที่ไหลเซาะไปตามพื้นดิน คือ ร่องน้ำ ที่แยกลำน้ำสาขาเล็กๆ จากลำห้วยแม่สายซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน จุดแยกของร่องน้ำที่ภายหลังเรียกว่า “ น้ำฮ่องกาด ” อยู่ในเขตบ้านกาศ ตำบลบ้านกาศ แล้วไหลไปบรรจบกับลำน้ำยมที่หมู่บ้านร่องกาศใต้ ตำบลร่องกาศ

ส่วนคำว่า “ กาด ” เป็นคำเรียกสั้นๆ ที่มาจากคำว่า กาดมั้ว หมายถึง ตลาดซึ่งเป็นที่ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้าและผลิตผลในท้องถิ่น ชื่อบ้านร่องกาศ จึงอาจเป็นชื่อที่ได้มาจากการที่เป็นหมู่บ้านที่มีกาดมั้วหรือตลาด ตั้งอยู่ริมร่องน้ำที่ไหลมาจากลำห้วยแม่สายบริเวณบ้านกาศ ชาวบ้านจึงเรียกร่องน้ำนี้ว่า ร่องกาด และชื่อหมู่บ้านของตนตามชื่อร่องน้ำนี้เป็นบ้านร่องกาด

ส่วนชื่อ บ้านร่องกาศ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นผลมาจากการที่มีการพัฒนาสร้างถนนให้ทันสมัยและตั้งป้ายชื่อหมู่บ้านที่ถนนผ่านชื่อหมู่บ้านจึงถูกเรียกเป็นภาษาไทยกลางทำให้ความหมายต่างไปจากชื่อเดิมและไม่สามารถให้ความหมายได้ถ้าไม่ทราบประวัติความเป็นมาดั้งเดิม

ของท้องถิ่น

เมื่อมีการตั้งตำบลซึ่งต้องรวมหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตอนิมิตร บ้านร่องกาศใต้ บ้านปงพร้าว บ้านดอนทัน และบ้านร่องกาศ เข้าด้วยกัน แต่เนื่องจากบ้านร่องกาศเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ตั้งอยู่ศูนย์กลางจึงถูกเลือกให้เป็นชื่อตำบลว่า “ ตำบลร่องกาศ ” จนถึงปัจจุบัน

(สัมภาษณ์ นายทองดำ มหามิตร อายุ ๘๒ ปี บ้านเลขที่ ๑๓๑ หมู่ที่ ๒ และนายทองดี จิตผ่อง อายุ ๗๕ ปี บ้านเลขที่ ๒๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ในตำบลร่องกาศ

เหตุการณ์กบฎเงี้ยวเมืองแพร่ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน 25 กรกฏาคม พ.ศ. 2445 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เงี้ยวได้รวมกำลังเข้าปล้นเมืองแพร่ บ้านร่องกาศเป็นหมู่บ้านที่พระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงกำกับราชการในเมืองแพร่ ได้หนีพวกเงี้ยวเข้ามาหลบซ่อนตัวที่บ้านร่องกาศบ้านเลขที่ 134 ของพ่อใหญ่เมืองและแม่ใหญ่ฝุนและขอข้าวกิ๋นเมื่อเห็นว่าไม่ปลอดภัยจึงหนีไปตามกองน้อย(ซอย)บ้านพ่อสร่างคำ มหามิตรบ้านเลขที่ 131 และถูกพบเห็นโดยหนานวงศ์ ชาวบ้านร่องกาศได้ไปแจ้งข่าวแก่พวกเงี้ยว ในที่สุดพระยาไชยบูรณ์ถูกเงี้ยวจับตัวได้ที่ดงในหมู่บ้านใต้ต้นศรีหมู่ที่ 3 (ต้นโพธิ์) และถูกพวกเงี้ยวฆ่าตัดคอ ที่ฮ่องคาว บริเวณที่ตั้งอนุสาวรีย์พระยา ไชยบูรณ์ในปัจจุบัน

(สัมภาษณ์ นายทองดำ มหามิตร อายุ 82 ปี บ้านเลขที่ 131 หมู่ที่ 2 ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่)

สถานที่ตั้ง
ตำบลร่องกาศ
ตำบล ร่องกาศ อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง จตุรภัทร อิ่มเพ็ง อีเมล์ mail@pco.go.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่
เลขที่ ๑๐๘ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑๓
ตำบล ป่าแมต อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัด แพร่ รหัสไปรษณีย์ 54000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่