ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 152225
พระอินทโมลี
เสนอโดย ยุภาพร วันที่ 21 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 21 มีนาคม 2559
จังหวัด : ชัยนาท
0 601
รายละเอียด

พระอินทโมลีศรีบรมธาตุวรวิหาร สุวิจารรณ์สังฆปาโมกข์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ท่านมีนามเดิมว่าช้าง เกิดที่บ้านคุ้งสำเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เมื่อเดิน แปด พ.ศ. ๒๓๘๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อโชติ มารชื่อบัว ท่านเป็นบุตรคนโต มีสุขภาพร่างการแข็งแรงสมบูรณ์ บิดาจึงตั้งชื่อว่าช้าง เป็นคนอัธยาศัยดี มีเมตตากรุณามาแต่เด็ก การศึกษา เมื่อท่านอายุ ๙ ขวบ ย้ายไปอยู่ในเขตท้องที่อำเภอเมือง บิดาได้นำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนกับพระครูเมธังกร (จู) วัดพระบรมธาตุ ด้วยท่านมีสติปัญญาดีเฉลียวฉลาดจึงเป็นที่ยกย่องและโปรดปรานของพระครูเมธังกร พออายุได้ ๑๓ ปีจึงบรรพชาเป็นสามเณรและเริ่มศึกษาภาบาลี เช่น คัมภีร์มูลกัจจายน์ธรรมบท และมงคลทีปนี จนแตกฉานสามารถแปลข้อความจากภาษาบาลีเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการคงวัดบางกะพี้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้นามฉายาว่า อินทสโร หลังจากได้ศึกษาด้านคันถธุระ จนสามารถค้นคว้าหลักธรรมะได้อย่างดีแล้วจึงมุ่งทางด้านปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานโดยได้รับการถ่ายทอดหลักปฎิบัติจากพระครูอินทชาติวรญาณ พร้อมทั้งเชี่ยวชาญด้านอิทธิปาฎฑิหาริย์ เช่น เสกของหลักให้เบาเหมือนนุ่น ร่นระยะทางให้สั้นได้ หน้าที่การงานและสมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๑๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นฐานานุกรมในพระครูเมธังกร นามว่าพระใบฎีกาช้าง กาลต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ฯ สืบต่อจากเจ้าอาวาสองค์ก่อน ส่วนจะได้รับแต่งตตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันเดือนปีอะไรไม่มีหลักฐานแน่นนอน จึงมิอาจทราบได้นอกจากคะเนตามอายุการปกครองวัด คงจะในราวระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๔๓เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๔ ได้รับพระราชทานสมรณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร มีราชททินนามว่าพระครูอินทโมลี พร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์อีกด้วย พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะเมืองชัยนาท พ.ศ.๒๔๕๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะช้นสามัญที่พระดินทโมลีบรมธาตุวิหารสุวิจารณ์สังฆปาโมกข์ ความดีที่ควรยกย่อง ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุวรวิหาร ท่านได้พัฒนาวัดโดยการบูรณะก่อสร้างกุฎิ วิหาร และสนับสนุนการศึกษาเป็นอย่างดี การปฎิบัติธรรมของท่านได้รับยกย่องว่าเคร่งครัดในวัตรปฎิบัติ ถือสันโดษ ยึดมั่นในระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ของประเพณีจนเป็นที่เกรงขามกันโดยทั่วไป อย่างเช่นตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง คือ เจ้าเมืองชัยนาทขี่ม้าออกตรวจการเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรในเขตท้องที่และได้ขี่ม้าเข้าไปในวัดโดยไม่ถอดหมวก พระอินทโมลีได้ใช้อำนาจอาชญาวัด ใช้ไม้ตีเจ้าเมืองพร้อมทั้งถามว่า เข้ามาในวัดทำไมไม่ถอดหมวก เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เป็นที่กล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นหลังจากได้รับถ่ายทอดวิชาจากพระครูอินทรชาติวรณาณ ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐานวิชาไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา การปลุกเสก และอธิบานต่างๆ จนเป้นที่พอใจของอาจารย์แล้วท่านก็ได้ทำหน้าที่เป็นอาจารย์สอนวิชาดังกล่าวจนมีคนมาขอศึกษากับท่านมากมายและตัวท่านเองก็มีวิชาอาคมเสมอกับพระครูวิมลคุณากร(ศุข) ถึงกับคนเก่า ๆของเมืองชัยนาท เล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อช้างกับหลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านชอบพอกันมาตั้งแต่เด็ก มีวิชาดีด้วยกันทั้งคู่ เคยทดสอบวิชากันเช่นหลวงพ่อศุขวัดปากคลองฯสร้างเสือสมิง หลวงพ่อช้างวัดพระบรมธาตุฯสร้างควายธนู ทั้งเสือสมิงและควายธนูต่างก็นทำอะไรกันไม่ได้ หมายความว่ามีวิชาเสมอกัน อนึ่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธเจ้าหวงเสด็จประพาสต้น ตามลำน้ำเจ้าพระยามาถึงวัดพระบรมธาตุฯ ท่านำพระสวดมนต์ถวายพระพร จนได้รับคำชมเชยว่าเสียงดัง ฟังชัด แม่นยำ และได้รับพระราชทานผ้ากราบ ผ้ารองย่าม เป็นที่ระลึก พระอินทโมลี (ช้าง) อาจารย์ผู้ยิ่งยงแห่งวัดพระบรมธาตุวรวิหาร หมู่ที่ ๖ ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท มีชื่อเสียงทางด้านเคร่งครัดในวัตรปฎิบัติ ยึดมั่นในกฎเกณฑ์ประเพณี ได้ถึงแก่กาลมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๕ ขณะอายุของท่านได้ ๘๑ ปี

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดพระบรมธาตุวรวิหาร
ตำบล ชัยนาท อำเภอ เมืองชัยนาท จังหวัด ชัยนาท
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดพระบรมธาตุวรวิหาร
บุคคลอ้างอิง ยุภาพร เทพพักทัน อีเมล์ yupaporn.thep@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองชัยนาท จังหวัด ชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17000
โทรศัพท์ 056416575 โทรสาร 056415676
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่