จิตรกรรมฝาผนังวัดเทพนิมิตร วัดเทพนิมิตร อยู่ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี เดิมชื่อวัดบ้านกลาง จิตรกรรมฝาผนังวัดเทพนิมิตรอยู่ที่ฝาผนังด้านในอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน จากคำจารึกประกอบภาพบ่งว่า "จากฤเมื่อจุลศักราช ๑๒๒๕ ปีกุญเบญกจ" ซึ่งกับกับ พ.ศ.๒๔๐๖ เป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อุโบสถเป็นอาคารทรงไทย ขนาด ๕ ห้อง หลังคาทรงไทยซ้อน ๓ ชั้น มุงกระเบื้องไทย มีปีกนกรอบ หน้าบันเป็นพื้นเรียบ ยกพื้นสูงประมาณ ๑.๕ เมตร มีเสารายรอบนอกตั้งขึ้นรับชื่อ ประตูด้านหน้าและด้านหลังมีด้านละ ๒ บาน หน้าต่างด้านละ ๕ บาน ซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นทรงมงกุฏ ลักษณะจิตรกรรมเป็นภาพเขียนสีฝุ่น ฝีมือช่างพื้นบ้าน ใช้สีสด นิยมใช้สีตัดกัน เช่น สีครามกับสีส้ม สีเขียวกับสีแดง เป็นต้น เรื่องที่เขียน ได้แก่ ทศชาติชาดก พระพุทธประวัติ เทพชุมนุม สถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท พญาฉัททันต์ชาดก และรามเกียรติ์ ผนังด้านพระประธานเขียนภาพสถานที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท มีมงคล ๑๐๘ ประการที่ฝ่าพระบาท ถัดไปเป็นทศชาติชาดก เรื่องพระมหาชนก พระสุวรรณสาม จิตรกรรมฝาผนังวัดเทพนิมิตรเป็นจิตรกรรมพื้นบ้าน มีเรื่องพระพุทธประวัติตอนสำคัญ ๆ ตลอดเรื่อง มีเรื่องทศชาติชาดกครบทั้ง ๑๐ เรื่อง นับว่าให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง