มัสยิดกรือเซะ ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาสหรือทางหลวงแผ่นดินสาย 42 บริเวณบ้านกรือเซะ ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 7 กิโลเมตร ตำบลตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี มีบริเวณชิดติดต่อกับถนนสายปัตตานี-นราธิวาส สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2121–2136) มัสยิดกรือเซะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า มัสยิด"ปิตูกรือบัน"เรียกตามรูปทรงของประตูมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นวงโค้งแบบโคธิคของชาวยุโรป (ช่องประตูแบบโคธิคนี้ นิยมกันมาแต่สมัยสมเด็จ-พระนารายณ์มหาราช ;ปิตู=ประตู ; กรือบัน=ช่องประตูที่มีรูปโค้ง) และแบบสถาปัตยกรรมของชาวตะวันออกกลาง (สภาพก่อนบูรณะกว้าง 15.10 เมตร ยาว 29.60 เมตร สูง 6.50 เมตร เสาทรงกลมเลียนรูปลักษณะแบบเสาโคธิคของยุโรป อิฐที่ใช้ก่อมีลักษณะเป็นอิฐสมัยอยุธยาแต่ตรงฐาน มีอิฐรูปแบบคล้ายสมัยทราวดีปะปนอยู่บ้าง หนังสือสยาเราะห์ปัตตานีของนายหะยีหวันหะซัน กล่าวว่า สุลต่านลองยูนุสเป็นผู้สร้าง ประมาณปีฮิจเราะห์ ๑๑๔๒ ตรงกับพุทธศักราช ๒๒๖๕ สมัยอยุธยาตอนปลาย เหตุที่ก่อสร้างไม่เสร็จเนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสุลต่านลองยูนุสกับระตูปะกาลัน ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ หลังจากสุลต่าน-ลองยูนุสสิ้นพระชนม์ ระตูปุยุดได้รับตำแหน่งสุลต่านเมืองตานีคนต่อมาได้ย้ายศูนย์การปกครองเมืองตานีไปตั้งอยู่ บางตำนานเล่าลือกันสืบมาว่า ผู้สร้างเป็นชาวจีนชื่อ เคี่ยม แซ่ลิ้ม เมื่อแต่งงานกับธิดารายา เมื่อเข้ารีตรับศาสนาอิสลาม ชาวปัตตานีเรียกว่า "ลิ้มโต๊ะเคี่ยม" ลิ้มกอเหนี่ยวน้องเดินทางมาตามพี่ชายให้กลับเมืองจีน เพื่อดูแล ด้วยลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นบุตรชายคนโต แต่พี่ชายไม่ยอมกลับ นางมีความน้อยใจที่อ้อนวอนพี่ชายไม่สำเร็จจึงทำ อัตตวินิบาตกรรม แต่ก่อนที่นางจะผูกคอตายนางได้ตั้งอธิษฐาน ขอให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมสร้างมัสยิดไม่สำเร็จด้วยแรงแห่งคำสาปแช่ง ในกาลต่อมาลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้พยายามทำการสร้างต่อเติมหลังคาและโดมถึง ๓ ครั้ง แต่ละครั้งมื่อก่อสร้างไปจวนจะเสร็จ ก็เกิดอสุนิบาตฟาดโดม และหลังคาพังทลายลงมาทุกครั้ง จนกระทั่งปัจจุบันไม่มีใครกล้าสร้างต่อ คงเหลือไว้แต่ซากจนตราบเท่าทุกวันนี้ มัสยิดกรือเซะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ มีการบูรณะหลายครั้ง ปัจจุบันนี้ทางราชการได้บูรณะมัสยิดแห่งนี้ให้ดีขึ้น โดยการปรับปรุงบริเวณโดยรอบแต่ลักษณะการก่อสร้างยังคงสภาพเดิมไว้ และได้สร้างรั้วล้อมรอบมัสยิดเอาไว้ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร