ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 42' 5"
6.7013889
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 37' 3"
101.6175000
เลขที่ : 13643
จิตรกรรมเรือกอและ
เสนอโดย คนึงนิจ สาโร วันที่ 4 มกราคม 2554
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 27 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : ปัตตานี
1 626
รายละเอียด

จิตรกรรมเรือกอ

ประวัติและวิวัฒนาการของเรือกอและ สันนิษฐานว่าเรือกอและน่าจะเกิดขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย ข้อสันนิษฐานดังกล่าวสืบเนื่องมาจากเหตุผล ทางประวัติศาสตร์ ดังนี้คือ 1. การเข้ามาของมุสลิมในประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-1921) นั้น มุสลิมอาศัยอยู่ ในนครศรีธรรมราชตลอดจนถึงมะละกา และมีหลักฐานที่แสดงว่าในสมัยสุโขทัยนั้นประเทศไทยมีการติดต่อ กับประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย อาหรับ ทั้งนี้ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2133-2148) ตำแหน่งเสนา-บดีทางการคลังและการท่าเรือนั้นนิยมใช้ชาวเปอร์เซีย ซึ่งก็ใช้กันเป็น ประเพณีสืบต่อมาจนตลอดสมัยอยุธยาและธนบุรี 2. มุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญในการใช้เรือ คนไทยทางภาคใต้รู้จักการใช้เรืออย่างชำนิชำนาญ มากกว่าคนไทยในภาคกลาง เหตุผลหนึ่งที่สำคัญคือ การอยู่ติดลำน้ำและ ฝั่งทะเล และหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า ขุนนางเชื้อสายอาหรับมุสลิมมีความสามารถเป็นอย่างยิ่งใน ด้านกิจการค้าทางทะเล รับราชการได้ตำแหน่งเป็นเจ้ากรมท่า สังกัดกองทัพเรือเป็นจำนวนมาก จน กลายเป็นตำแหน่งสืบทอดแบบประเพณีจึงสันนิษฐานได้ว่า ชาวมุสลิมในภาคใต้ความคุ้นเคยและชำนาญใน การใช้เรือมาตั้งแต่สมัยโบราณ และสืบทอดความชำนาญทางด้านการเดินเรือและการประมงให้แก่ลูกหลาน 3. ปรากฏเรื่องราวของเรือและในสมัยสุโขทัย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอสรุปและ สันนิษฐานได้ว่าเรือกอและ และการเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในภาคใต้ตอนล่างของชาวมุสลิม และเนื่องจาก ชาวมุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญพิเศษในการออกทะเล ดังนั้นกลุ่มชนนี้จึงยึดอาชีพการประมง และ เนื่องจากเป็นชาวพื้นเมืองที่มีทุนทรัพย์น้อย จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องมือในการออกทะเลเพื่อทำการประมง ทำให้เกิด “เรือกอและ”ขึ้น สันนิษฐานว่าการวาดลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและน่าจะกำเนิดขึ้นเมื่อเกือบ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา สืบเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังนี้ 1. ปรากฏเรือกอและที่มีการเขียนลวดลายจิตรกรรม สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2. ปรากฏการแข่งขันเรือกอและที่มีการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมในราวประมาณ พ.ศ. 2487 ในสมัยที่ขุน จรรยาวิเศษ (เที่ยง จรรยาวิเศษ บุญยพัตย์) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานี 3. จากการสอบถามช่างต่อเรือในท้องถิ่น พอสรุปและสันนิษฐานได้ว่าชาวไทยมุสลิมเริ่มมีการตกแต่ง ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและในสมัยรัตนโกสินทร์ราว 1 ศตวรรษที่ผ่านมาเพราะเนื่องจากชาวไทยมุสลิม ในเขตชายแดนภาคใต้ที่มีวัฒนธรรทางศิลปะมาตั้งแต่บรรพชนซึ่ง แสดงให้ปรากฎในด้านการประดับตกแต่ง การแต่งกายและทางด้านสถาปัตยกรรม ผนวกกับเนื่องจากชาวประมงหรือนักรบเหล่านี้ได้เคยเห็นความงาม วิจิตรของเรือในพระราชพิธีทางภาคกลาง จึงเกิดความประทับใจและมีความปรารถนาที่จะตกต่างเรือกอและ ของตนเองให้ดูสวยงาม หลังจากบ้านเมืองมีความสงบสุขสิ้นภัยจากสงครามและความวุ่นวายการตกแต่ง ลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและจึงเกิดขึ้น

หมวดหมู่
ทัศนศิลป์
สถานที่ตั้ง
ตำบล ตะลุบัน อำเภอ สายบุรี จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี
อำเภอ เมืองปัตตานี จังหวัด ปัตตานี รหัสไปรษณีย์ 94000
โทรศัพท์ 073323195-7
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่