ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 34' 18.7735"
13.571881525894097
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 53' 57.6792"
100.89935532936101
เลขที่ : 129393
ตะเกียงเจ้าพายุ
เสนอโดย สมุทรปราการ วันที่ 29 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย สมุทรปราการ วันที่ 4 กรกฎาคม 2564
จังหวัด : สมุทรปราการ
0 694
รายละเอียด

ตะเกียงเจ้าพายุ

ตะเกียงเจ้าพายุเป็นเครื่องใช้โบราณที่ใช้ให้แสงสว่าง และความร้อนซึ่งเป็นของใช้
จำเป็นในอดีตกาล ในยุคที่ไฟฟ้ายังไม่แพร่หลาย ปัจจุบันได้กลายเป็นของสะสมที่มี
คุณค่าสำหรับคนที่มีความหลงใหลในแสงไฟและกลิ่นไอน้ำมันก๊าด

ตะเกียงเจ้าพายุ มีหลักการเหมือนกับหลอดไฟมีไส้ทุกประการ โดยหลอดไฟมีไส้
ใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวให้พลังงานความร้อน ส่วนตะเกียงเจ้าพายุใช้ น้ำมันก๊าด ด้วยการ
เป่าน้ำมันก๊าดผ่านเข้าไปในไส้ เพื่อให้ความร้อนและเปล่งแสงออกมา เมื่อเราหยิบไส้
ขึ้นมาดูจะเห็นว่าเหมือนตาข่ายผ้า แต่จริงๆแล้ว เส้นใยผ้าจะคลุมสารออกไซด์ หรือ เซรามิก
อยู่ภายใน หลังจากมีการวิจัยเพื่อหาไส้ที่ดีที่สุด พบว่า สารเซรามิก พวก ทอเรียม ออกไซด์ ซีเรียมออกไซด์ และแมกนีเซียมออกไซด์ พวกนี้จะเปล่งแสงได้ดีที่สุดเมื่อได้รับความร้อน
เมื่อจุดไส้หลอด เส้นใยผ้าจะถูกเผา เหลือแต่เส้นใยเซรามิกซึ่งมีความเปราะมาก

ไส้ตะเกียงเจ้าพายุที่มีทอเรียมเป็นองค์ประกอบนี้ สามารถให้แสงได้สว่างมาก เมื่อเทียบกับ
ไส้ตะเกียงที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น ทำให้ตะเกียงเจ้าพายุนี้เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย
สำหรับการให้แสงสว่างตามอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือตามถนนหนทาง

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ของเก่าวัดบางพลีน้อย
เลขที่ 1
ตำบล บางพลีน้อย อำเภอ บางบ่อ จังหวัด สมุทรปราการ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดบางพลีน้อย
เลขที่ 1
จังหวัด สมุทรปราการ รหัสไปรษณีย์ 10560
โทรศัพท์ 02-337-6465
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่