ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 6' 53.4996"
14.1148610
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 22' 58.5217"
100.3829227
เลขที่ : 129354
การตั้งถิ่นฐานตำบลบ่อเงิน
เสนอโดย ปทุมธานี วันที่ 29 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 29 มีนาคม 2555
จังหวัด : ปทุมธานี
0 220
รายละเอียด

การตั้งถิ่นฐานตำบลบ่อเงิน

รายละเอียดข้อมูล

ตำบลบ่อเงิน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอลาดหลุมแก้วปัจจุบันจากหลักฐานของทางราชการ เกี่ยวกับการแบ่งเขตท้องที่จังหวัดปทุมธานีตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ได้ประกาศตำบลคูตัน เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอลาดหลุมแก้ว ที่มาของคำว่า “คูตัน”

จากการบอกเล่าของนายผล ปรีชาธีรศาสตร์ เนื่องมาจากราษฎรที่อพยพมาตั้งหลักปักฐานประกอบอาชีพ ปลูกบ้านพักอาศัยที่ ลาดลุ่มซึ่งมีลำรางน้ำไหลตามธรรมชาติ ต่างร่วมใจกันขุดดินให้เป็นลำรางในเขตของตน เมื่อน้ำไหลขึ้นลงก็จะไม่สามารถไหลต่อไปได้ เนื่องจากเป็นที่สูงกว่าจึงเรียกขานกันต่อๆ กันมาว่า “คูตัน”

ในอดีตผู้เล่าได้ให้ข้อมูลว่าสภาพในอดีตมีสัตว์หลายชนิด เช่น ช้าง หมูป่า และสัตว์อื่นๆ อีกมากมายอาศัยอยู่ เพราะสภาพทั่วไปเป็นป่าพงหนาแน่น ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ราษฎรกลุ่มหนึ่งได้พูดคุยปรึกษาหารือร่วมกับเจ้าอาวาสวัดบ่อเงิน ตำบลบ่อเงินปัจจุบัน เกี่ยวกับชื่อตำบลคูตันว่าเพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจชาวบ้านจึงควรเปลี่ยนชื่อเรียกตำบลคูตันเสียใหม่ เพื่อให้เป็นสิริมงคล และได้ลงมติว่าควรเปลี่ยนจาก “ตำบลคูตัน” เป็นตำบลบ่อเงิน มาจนปัจจุบัน

ราษฎรมีอาชีพทำนา ตามฤดูกาล ผลผลิตที่ได้นำไปขายให้พ่อค้าโดยทางเกวียน นอกเขตพื้นที่มารับจ้างขนข้าว ไปส่งขายในท้องที่อำเภอสามโคกบริเวณวัดท่าข้าม (วัดจันทารามปัจจุบัน) โดยมีพ่อค้าคนจีนมารับซื้อ นอกจากนั้นยังประกอบอาชีพทำสวน รับจ้างและอื่น ๆ.

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
ตำบลบ่อเงิน
ตำบล บ่อเงิน อำเภอ ลาดหลุมแก้ว จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือปทุมธานีท้องถิ่นของเรา
บุคคลอ้างอิง ประคอง สุวิริโย
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
ตำบล บางปรอก อำเภอ เมืองปทุมธานี จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 02-5934270 โทรสาร 02-5934406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่