ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 41' 24"
13.69
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 4' 48"
101.08
เลขที่ : 114333
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
เสนอโดย - วันที่ 20 กันยายน 2554
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
0 815
รายละเอียด

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่๓๕ไร่๓งาน ๑๐ตารางวา ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๗๗ ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๘๕ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๓๙๕ วิสุงคามสีมากว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๙.๕๐เมตร

วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เดิมชื่อวัดหลักเมือง สร้างขึ้นโดยกรมหลวงรักษ์รณเรศธ์ (หม่อมเกสร) เมื่อครั้งเสด็จมาทรงสร้างป้อมปราการและกำแพงเมืองฉะเชิงเทรา ตามพระบรมราชโองการของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๗ เนื่องจากวัดนี้สร้างขึ้นพร้อมกับกำแพงเมือง ชาวบ้านจึงเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดเมือง” ในปี พ.ศ. ๒๓๙๑ วัดได้ถูกเผาจากพวกกบฏอั้งยี่ จนกลายเป็นวัดร้างไประยะหนึ่ง และได้มีการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่โดยพระยาวิเศษฤาชัย (บัว) เจ้าเมืองฉะเชิงเทราสมัยนั้น

ครั้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา ครั้งที่ ๒ เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ –ฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระราชทานนามวัดนี้ใหม่ว่า “ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์”มีความหมายถึง วัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง นอกจากนี้ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ เมื่อในอดีตยังเป็นสถานที่สำคัญในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองแปดริ้ว อีกด้วย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอุโบสถและวิหาร ของวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เป็นโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๙

ปัจจุบัน วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ เป็นศาสนสถานที่ประชาชนชาวตำบลหน้าเมือง และประชาชนทั่วไป ใช้ประกอบศาสนกิจสำคัญ ๆ ทางพระพุทธศาสนา มีการจัดการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ และธรรมบาลี โดยมีพระธรรมเมธี ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

คำสำคัญ
วัดเมือง
หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดเมือง (วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)
ถนน มรุพงษ์
ตำบล หน้าเมือง อำเภอ เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อที่ทำงาน กระทรวงวัฒนธรรม
เลขที่ 10 ถนน ถนนเทียมร่วมมิตร
ตำบล ห้วยขวาง อำเภอ เขตห้วยขวาง จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310
โทรศัพท์ 1765
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
Attapong 2 กันยายน 2555 เวลา 23:51
ผมยังงงๆ กับเรื่องวัดเมืองอยู่ครับ
เพราะว่าในพระราชพงศาวดาร ร.3
กล่าวถึงจีนตั๊วเฮีย ยึดเมืองฉะเชิงเทรา ได้ฆ่าพระวิเศษ(บัว)ตายในที่รบไปแล้วนิครับ แล้วในพระราชพงศาวดารก็ไม่ได้กล่าวถึงการเผาวัด
มีแต่ทางการเผาโรงหีบอ้อย ไล่พวกจีนตั๊วเฮีย
แต่ที่แน่ๆ ก็คือเป็นที่ตัดหัวกบฏนับไม่ถ้วนครับ
เสร็จศึก อีก2ปี ร.3ก็เสด็จสวรรคต แต่ก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตได้จัดเงินส่วนหนึ่ง มาบูรณะวัดแห่งหนึ่งในฉะเชิงเทรา (ไม่ได้ระบุว่าวัดอะไร แต่ในขณะนั้นก็มีแต่วัดนี้วัดเดียวที่เป็นวัดหลวง ในเมืองฉะเชิงเทรา) ดัง ความว่า "รวมหัวเมือง กรุงเก่า ๒๒๒ สมุทสงคราม ๗๐ ฉะเชิงเทรา ๑ สาครบุรี ๑ ราชบุรี ๑ " อ้างอิงจากประชุมพงศาวดารภาค 51 หน้า32 ครับ ซึ่งผมคิดว่าจังหวัดเราน่าจะลองจัดชำระประวัติศาสตร์ กันมั่งก็ดีน่ะ
เพื่อประชาชนทั่วไปที่สนใจและไม่สนใจจะได้ มีความรู้ และตื่นตัวในการอนุรักษ์ ห่วงแหน ถึงวัฒธรรมท้องถิ่นซึ่งนานวันมันจะหายไปทุกวันน่ะครับ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่